Tag Archives: financial

SC Ventures เปิดตัว audax Financial Technology เพื่อช่วยสถาบันการเงินเร่งพัฒนาความสามารถด้านการทำธุรกรรมดิจิทัล

Logo

  • audax ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธนาคารแข่งขันได้ในยุคดิจิทัลและดำเนินตามโมเดลธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ ขณะเดียวกันก็ช่วยส่งเสริมระบบหลักที่มีอยู่
  • audax เป็นแพลตฟอร์มการทำธุรกรรมดิจิทัลที่ขับเคลื่อนธนาคารระดับโลกแห่งแรกที่ให้บริการ Banking-as-a-Service (BaaS) ในเอเชีย
  • การเปิดตัวครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากความสำเร็จของ audax ในการนำเสนอ BaaS ในเชิงพาณิชย์ให้กับ Standard Chartered ร่วมกับ Bukalapak แพลตฟอร์มการค้าครบวงจรชั้นนำของอินโดนีเซีย

สิงคโปร์–(BUSINESS WIRE)–21 กันยายน 2023

SC Ventures บริษัทร่วมทุนด้านนวัตกรรมและการลงทุนด้านฟินเทคของ Standard Chartered เปิดตัว audax Financial Technology (“audax”) ผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีด้านการทำธุรกรรมดิจิทัล ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมศักยภาพให้กับธนาคารและสถาบันการเงินในการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ส่งมอบโมเดลธุรกิจใหม่ ให้บริการกลุ่มลูกค้าใหม่ และหาแหล่งรายได้ใหม่

ภายในปี 20301 คาดว่าตลาด Business-to-Business to Any-End-User (B2B2X) (ตลาดธุรกิจต่อธุรกิจสู่ผู้ใช้ปลายทาง) จะมีรายได้ต่อปีถึง 440,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้แรงหนุนจากความก้าวหน้าในโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน ธนาคารดิจิทัล และพื้นที่การเงินแบบฝังตัว audax จะมีบทบาทในตลาดที่กำลังเติบโตนี้โดยช่วยเหลือธนาคารดั้งเดิมในกรณีการใช้งานที่แตกต่างกันสองกรณีคือ การทำธุรกรรมดิจิทัลและ Banking-as-a-Service (BaaS)

audax นำเสนอแพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัลแบบ end-to-end พร้อมความสามารถแบบแยกส่วนที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อจัดการข้อมูลลูกค้านับล้านพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โซลูชัน Plug-and-Play รองรับวงจรชีวิตของลูกค้าทั้งหมด ตั้งแต่อินเทอร์เฟซลูกค้าและพนักงาน ไปจนถึงผลิตภัณฑ์การฝากและกู้ยืม ไปจนถึงการบริการลูกค้าและการรายงานข้อมูล เนื่องจากสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมระบบหลักของธนาคารดั้งเดิม เทคโนโลยีแบบทำงานข้ามโครงสร้างพื้นฐานของ Audax ยังช่วยให้ธนาคารดำเนินการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลสมัยใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาหรือโยกย้ายภายในองค์กรที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน

ก่อนที่จะเปิดตัว โซลูชันของ audax ขับเคลื่อน Standard Chartered nexus (“SC nexus”) ซึ่งเป็นบริการ BaaS แบบ White-Label Plug-and-Play สำหรับสถาบันในระบบนิเวศขนาดใหญ่ Standard Chartered Bank เป็นธนาคารระดับโลกแห่งแรกที่ให้บริการ BaaS ในเอเชียผ่าน SC nexus ความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ Bukalapak ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการค้าครบวงจรของอินโดนีเซีย ด้วยการใช้เทคโนโลยีของ audax บริการ Standard Chartered nexus ช่วยให้ BukaTabungan ลดความซับซ้อนของขั้นตอนการเปิดบัญชีดิจิทัลให้รวดเร็วเพียงสองนาที เนื่องจากลูกค้าไม่จำเป็นต้องไปที่สาขาจริงหรือพูดคุยกับนายธนาคารเพื่อกรอกใบสมัคร ซึ่งสามารถทำได้ผ่านระบบอัตโนมัติขั้นสูงของ audax บวกกับเทคโนโลยีความปลอดภัยที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ การจดจำใบหน้าแบบไบโอเมตริก และการตรวจสอบ E-KTP (โปรแกรมยืนยันตัวตนที่ใช้งานไบโอเมตริกของอินโดนีเซีย)

ด้วยแพลตฟอร์มของ audax บริการ SC nexus จะช่วย Sociolla ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซด้านความงาม ในการตั้งค่าการทำธุรกรรมดิจิทัลให้กับลูกค้าของพวกเขา นอกจากนี้ audax ยังมีกำหนดจะสนับสนุน SC nexus กับพันธมิตรรายที่สามในตลาดที่สอง โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 2023

“โซลูชันการทำธุรกรรมดิจิทัลของ audax จะช่วยให้สถาบันการเงินปลดล็อกโอกาสได้มากขึ้น” Alex Manson ผู้นำ SC Ventures กล่าว “ความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จระหว่าง Standard Chartered และ Bukalapak ในการเปิดตัว BukaTabungan เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิธีที่ Audax มอบการเข้าถึงการทำธุรกรรมดิจิทัลแบบไร้กระดาษอย่างแท้จริง โดยให้บริการระบบนิเวศของ Bukalapak ที่มีผู้ใช้มากกว่า 150 ล้านคนและเจ้าของธุรกิจ 20 ล้านคน ในอนาคตข้างหน้า audax จะสามารถบรรลุเป้าหมายเดียวกันนี้สำหรับสถาบันการเงินอื่นๆ ที่ต้องการเป็นพันธมิตรกับแพลตฟอร์มใดๆ ก็ตาม”

audax มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่เติบโตในประเทศ ฟินเทคนี้มุ่งเน้นไปที่การเร่งพัฒนาระบบนิเวศเทคโนโลยีโดยเริ่มจากภูมิภาค APAC ภารกิจในปัจจุบันคือการช่วยให้ธนาคารและสถาบันการเงินสามารถขยายขนาดและทันสมัยได้อย่างรวดเร็วด้วยความสามารถด้านการทำธุรกรรมดิจิทัลของ audax

Kelvin Tan อดีตกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าระดับโลกของ SC nexus จะเป็นผู้นำของ audax ในตำแหน่ง CEO ร่วมกับทีมงานส่วนใหญ่ของเขา audax จะยังคงให้บริการ Standard Chartered ในด้านเชิงพาณิชย์ต่อไป โดยขับเคลื่อน SC nexus ที่เป็นบริการ BaaS ต่อไปสำหรับทั้งความร่วมมือในปัจจุบันและอนาคต ด้วยการสำรวจสภาพแวดล้อมทางเทคนิคและกฎระเบียบที่ซับซ้อนภายในระบบนิเวศของธนาคารทั่วโลก และมีประวัติที่พิสูจน์แล้วในการขับเคลื่อนความสำเร็จของลูกค้าผ่านความร่วมมือภายนอก ทีมงานมีความมั่นใจในการช่วยให้ธนาคารดั้งเดิมบรรลุผลการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในลักษณะที่คล้ายกันได้สำเร็จ

“ความหมายของ audax คือ “ความกล้าหาญ” และนั่นคือลักษณะเฉพาะของทีมที่เราสร้างขึ้นและจำเป็นต่อสิ่งที่เรากำลังจะบรรลุผลสำเร็จ” Tan กล่าว “เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะผลักดันขอบเขตของสิ่งที่คิดว่าเป็นไปได้ audax ได้แสดงให้เห็นศักยภาพของ BaaS และวิธีที่บริษัทได้ขยายขนาดธุรกิจดิจิทัลของ Standard Chartered ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถหาลูกค้าหน้าใหม่สู่ธนาคารด้วยต้นทุนเพียงเล็กน้อยในการได้มาซึ่งลูกค้าแบบเดิม ตอนนี้เราพร้อมที่จะขยายขนาดธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ ทั่วโลก ช่วยให้ทุกคนสร้างมูลค่าที่ดีขึ้นให้กับธุรกิจของตนโดยไม่ต้องเสี่ยงกับทรัพย์สินที่มีอยู่”

audax Financial Technology

audax Financial Technology เป็นผู้ให้บริการโซลูชันการทำธุรกรรมดิจิทัลแบบครบวงจรที่เสริมศักยภาพให้กับธนาคารและสถาบันการเงินในการขยายขนาดและทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว audax Financial Technology ได้ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจและแหล่งรายได้ใหม่สำหรับ Standard Chartered ภายใต้บริการ SC nexus โดย Standard Chartered กลายเป็นธนาคารระดับโลกแห่งแรกที่ให้บริการ Banking-as-a-Service ในเอเชีย

โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.audax.io และติดตาม audax บน LinkedIn

SC Ventures

SC Ventures เป็นหน่วยธุรกิจที่ให้บริการแพลตฟอร์มและตัวเร่งปฏิกิริยาแก่ Standard Chartered เพื่อส่งเสริมนวัตกรรม ลงทุนในเทคโนโลยีทางการเงินที่พลิกโฉม และสำรวจโมเดลธุรกิจทางเลือก SC Ventures ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 ในฐานะหน่วยธุรกิจใหม่เพื่อเป็นผู้นำนวัตกรรมดิจิทัลและลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีทางการเงิน โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายโมเดลธุรกิจที่ล้ำสมัย โดยเปิดตัวกิจการใหม่กว่า 30 แห่ง ชุมชน Fintech Bridge กว่า 2,700 แห่ง และบริษัทในเครือ 22 แห่ง

โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.scventures.io และติดตาม SC Ventures บน LinkedIn

1Reimagining the Future of Finance (BCG & QED, 2023)

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

รายชื่อติดต่อ

ช่องทางสอบถามสำหรับสื่อ:

สำหรับสื่อ:
Fernn Lim ฝ่ายเสนาธิการ audax
fernn.lim@audax.io

Chi-an Chang หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสาร SC Ventures
chian.chang@sc.com

ที่มา: audax

ไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) และ Financial Times Board Director Programme เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับช่องว่างที่สำคัญระหว่างคณะกรรมการของบริษัทต่างๆในประเทศไทยในเรื่องของการกำกับดูแลเทคโนโลยีดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และการบริหารจัดการความเสี่ยง

Logo

ไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) และ Financial Times Board Director Programme ร่วมกันเผยแพร่รายงาน Asia Pacific Board Director Barometer Report 2021 ซึ่งระบุถึงความคิดเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่มีต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกโดยมุ่งเน้นไปที่ประเทศไทยและตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ตามรายงาน Asia Pacific Board Director Barometer Report 2021 พบว่า

  • คณะกรรมการบริษัทต่างก็พยายามที่จะผลักดันนำระบบดิจิทัล มาเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน เพื่อก้าวผ่านวิกฤติการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด 19 ไปให้ได้
  • การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ตลอดจนธรรมมาภิบาลบริษัท การจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด (GRC) ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดที่คณะกรรมการองค์กรให้ความสำคัญ
  • คณะกรรมการองค์กรณ์ ยังไม่มีความพร้อมในด้านครื่องมือที่รองรับรูปแบบการประชุมแบบผสมผสานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นรูปแบบการประชุมที่จะเป็นที่นิยมเป็นอย่างสูงหลังจากการแพร่ระบาดของโรคระบาด
  • ความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัลในแต่ละองค์กรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคณะกรรมการองค์กรยังคงตามไม่ทันต่อวิวัฒนาการ ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านการปฏิบัติงาน ความปลอดภัยของระบบไซเบอร์ รวมถึงความด้อยประสิทธิ์ภาพในการทำงาน
  • ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีในองค์กร ส่งผลต่อกระบวนการดำเนินการของคณะกรรมการ และ ช่องโหว่นี้ก็ได้ส่งผลคุกคามต่อกระบวนการปฏิบัติงานและความซื่อสัตย์ของคนในองค์กร

รายงาน Asia Pacific Board Director Barometer Report 2021 ได้ระบุให้เห็นถึงความคิดเห็นและการแนวทางปฎิบัติของกรรมการขององค์กรทั่วโลก ในด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ความมั่นคงทางไซเบอร์ การดำเนินงานของคณะกรรมการ ธรรมมาภิบาลบริษัท การจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด (GRC) รวมถึงการวางแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (BCP) ทั้งนี้ ได้มีการสำรวจในเชิงลึกกับคณะกรรมการบริษัท 771 คนซึ่งเป็นตัวแทนของธุรกิจเกิดใหม่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัทข้ามชาติ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตลอดจนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วทั้งอุตสาหกรรมหลัก 12 ประเภท การสุ่มตัวอย่างมุ่งเน้นไปที่ตลาดหลักๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (รวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย) รวมทั้งตัวอย่างเปรียบเทียบจากทวีปอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา

สรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน ดังนี้ :

  • BCP และ GRC ต่างสร้างแรงกดดันต่อคณะกรรมการองค์กร โดยร้อยละ 83 ของคณะกรรมการองค์กรทั่วโลกและร้อยละ 84 ของคณะกรรมการบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเล็งเห็นว่าประเด็นนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อองค์กร กล่าวโดยสรุปแล้ว คณะกรรมการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมั่นใจว่าจะสามารถจัดการวิกฤตต่างๆได้ อีกทั้งยังมีช่องว่างสำหรับการพัฒนาตลาดบางแห่ง ร้อยละ 52 ของคณะกรรมการบริษัทในประเทศไทยกล่าวว่าตนเองรู้สึกพอใจในวิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ในขณะที่ คณะกรรมการในประเทศเวียดนาม (ร้อยละ 42) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 45) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 50) ฮ่องกง (ร้อยละ 51) มาเลเซีย (ร้อยละ 56) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 68) และสิงคโปร์ (ร้อยละ 71) ต่างก็มีความคิดเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • นับตั้งแต่ที่มีการสร้างแบบจำลองการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ความปลอดภัยทางด้านข้อมูลกลายเป็นประเด็นที่กรรมการองค์กร กว่าร้อยละ 83% เป็นกังวล อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น ถึงแม้ว่ากรรมการบริษัทร้อยละ 91 ในประเทศญี่ปุ่นได้กล่าวว่าความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลเคยเป็นเรื่องที่เป็นกังวล แต่มีเพียงร้อยละ 79% ของคณะกรรมการที่ได้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของข้อมูล และได้แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่ ยังมีวิธีจัดการที่ไม่เหมาะสม และมีกรอบการดำเนินงานในเรื่องของความปลอดภัยของไซเบอร์ที่ล้าหลัง
  • คณะกรรมการบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคต่างไม่เห็นด้วยกับการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอก เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่กรรมการกว่าร้อยละ 60 ในทวีปอเมริกากล่าวว่าจะพิจารณาเกี่ยวกับการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยเหลือในการประเมินกรอบการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการ ความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมทั้งการวางแผนเพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ เห็นได้ชัดว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ไม่ค่อยให้การยอมรับเนื่องจากกรรมการน้อยกว่าครึ่ง (เพียงร้อยละ 48) กล่าวว่าจะพิจารณาใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก รวมถึงประเทสไทย (ร้อยละ 49%)
  • คณะกรรมการองค์กรยังไม่มีการเตรียมตัวที่จะรับมือกับข้อกำหนดด้านของความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการประชุมเสมือนจริง (Virtual meeting)ทั้งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคร้ายและภายหลังการแพร่ระบาดของโรคร้าย : การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ได้สะท้อนออกมาให้เห็นในผลสำรวจอย่างชัดเจน กล่าวคือ คณะกรรมการทั่วโลกรายงานว่า มีการประชุมเสมือนจริงเพียง 5% จากการประชุมทั้งหมด มาเป็นการประชุมแบบเข้าประชุมด้วยตัวเอง เพียง 5% แทน อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของข้อมูล คณะกรรมการหลายคนไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการแบบผสมผสานดังกล่าว ซึ่งจะเป็นรูปแบบการดำเนินงานที่ได้รับความนิยมอย่างมากหลังการแพร่ระบาด โดยร้อยละ 9 ของคณะกรรมในประเทศไทย (เทียบกับอัตราของคณะกรรมการทั่วโลกจำนวน 5%) ที่ยังคงเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง และร้อยละ 9 (เทียบกับอัตราของคณะกรรมการทั่วโลกที่ 12%) ที่คิดว่าจะเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองหลังการแพร่ระบาดของโรค
  • ดังนั้น 1 ใน 4 ของคณะกรรมการบริษัทก็มิได้ดำเนินการเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนเองเพื่อที่จะลดช่องว่างในการนำเอาระบบดิจิทัลที่แพร่หลายมาใช้ ทั้งนี้ ในการเตรียมตัวหลังจากการที่แพร่ระบาดของโรคร้ายผ่านพ้นไปในอนาคต ร้อยละ 73 ของกรรมการทั่วโลกกล่าวว่าตนเองจะหาเครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ มาใช้ โดยสามารถแบ่งออกเป็นคณะกรรมการในประเทศไทย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ซึ่งอยู่ในอัตราร้อยละ 79 78 และ 76 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเทศที่ความต้องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆมาใช้ ในอัตราส่วนที่ค่อนข้างน้อยอยู่ เช่น ฮ่องกง (ร้อยละ 70) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 68) และประเทศสิงคโปร์ (ร้อยละ 67) โดยระบุว่าคณะกรรมการองค์กรจำนวนมาก ยังไม่มีการใช้ดิจิทัลในการดำเนินงานของคณะกรรมการ หรือ การแก้ปัญหาอื่นๆที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้
  • คณะกรรมการบริษัทกำลังมองหาที่จะเข้ารับการฝึกอบรมด้านการกำกับดูแลกิจการให้มากขึ้นเพื่อที่จะเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง – ร้อยละ 94 ของคณะกรรมการทั่วโลกกล่าวว่าตนเองต้องการฝึกอบรมเพิ่มเติม ในขณะที่กรรมการแค่เพียงร้อยละ 58 กำลังรับการฝึกอบรมดังกล่าว ตัวเลขทางสถิติเหล่านี้จะสอดคล้องกับตัวอย่างของคณะกรรมการบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่ปรากฏอยู่ในแบบสำรวจ สำหรับประเทศไทยแล้ว กรรมการร้อยละ 91 กล่าวว่าตนเองต้องการรับการฝึกอบรมเพิ่มเติม และมีแค่เพียงร้อยละ 55 ที่ปัจจุบันกำลังรับการฝึกอบรมดังกล่าว

คุณเลนนาร์ด ย้ง (Mr. Lennard Yong) ประธานกรรมการบริหารของไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า“การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ของสัดส่วนที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียและพื้นที่อื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคณะกรรมการบริษัทเกือบทุกองค์กรทั่วทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม” นับตั้งแต่การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้น ไตรคอร์ก็ได้รับการสอบถามจากองค์กรต่าง ที่กำลังมองหาวิธีการในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นของคณะกรรมการ โดยรวมรวมถึงการเอาวิธีการกำกับดูแลคณะกรรมการบริษัทแบบดิจิทัลมาใช้ ในขณะที่ยังคงต้องเผชิญหน้ากับความปั่นป่วนทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเราซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยการให้บริการในรูปแบบบูรณาการและส่งเสริมความเป็นดิจิทัลรวมทั้งโซลูชั่นในการกำกับดูแลกิจการที่มีความหลากหลาย พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่คณะกรรมการในการสร้างความคุ้นเคยกับสภาวะทางธุรกิจที่กำลังวิวัฒนาการและพยายามรับมือกับความไม่แน่นอน”

คุณซันไชน์ ฟาซาน (Ms. Sunshine Farzan) หัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “คณะกรรมการบริษัทต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการลดความเสี่ยง และนำพาธุรกิจให้ผ่านพ้นหายนะและเหตุการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับองค์กรและยังส่งผลต่อการลงทุนของผู้ถือหุ้น หากมองในแง่ของการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น ตามรายงาน Asia Pacific Board Director Barometer 2021 ได้ยืนยันแล้วว่า คณะกรรมการต่างก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับ วิกฤติของความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ GRC และ BCP และรายงานฉบับนี้จะสามารถช่วยให้คณะกรรมการมองเห็นถึงความท้าทาย ปัญหา รวมถึงด้านสำคัญที่ต้องการการแก้ไขพัฒนา เพื่อนำไปสู่ขั้นต่อไปในการดำเนินธุรกิจอย่างและความยืดหยุ่นอย่างต่อเนื่อง

คุณดีแลนด์ หม่า (Mr. Dyland Mah) กรรมการผู้จัดการ บริษัทไตรคอร์ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ธนาคารโลกได้จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจในเอเชียในด้านของการกำกับดูแลกิจการซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิรูปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ประสบความสำเร็จในเรื่องของมาตรฐานด้านการกำกับดูแลกิจการรวมทั้งความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนดในระดับสูงในด้านที่สำคัญ อาทิเช่น การเปิดเผย ความโปร่งใส และการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หากแต่ในส่วนของการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสภาวการณ์ของตลาดที่เปี่ยมไปด้วยความท้าทายแล้ว ขณะนี้คณะกรรมการบริษัทในประเทศไทยก็กำลังรับมือกับสภาวะของความไม่แน่นอนที่แพร่กระจายไปทั่ว รวมทั้งความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด ตลอดจนข้อบังคับ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับไตรคอร์

ประเทศไทยแล้ว เราต่างก็ให้ความช่วยเหลือแก่คณะกรรมการบริษัทเพื่อที่จะสนับสนุนกรอบการทำงานในเรื่องของการกำกับดูแลกิจการรวมทั้งความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นสามารถที่จะส่งเสริมพนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้มีอำนาจในการควบคุม และชุมชนได้ดีขึ้น”

นอกเหนือจากประเด็นหลักที่กล่าวมาข้างต้น รายงาน Asia Pacific Board Director Barometer 2021 ยังมีรายละเอียดสำหรับประเด็นรอง บทสรุปสำคัญ บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม ประเด็นที่ควรพิจารณา และ วิธีการปฏิบัติด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้คณะกรรมการ เข้าใจและชี้ทางเพื่อให้พัฒนาธุรกิจต่อไปท่ามกลางวิกฤติ

หากสนใจรับชมรายงานฉบับเต็ม สามารถเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.tricorglobal.com/2021-asia-pacific-board-director-barometer-report

ขอบคุณ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

HONG KONG SAR (GROUP OFFICE)

Sunshine Farzan

Tricor Services Limited

Group Head of Marketing & Communications

Tel: +852 2980 1261

Email: Sunshine.Farzan@hk.tricorglobal.com

เกี่ยวกับ บริษัท ไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี 2005 และมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งบริการของเราครอบคลุมทั้งบริการจัดทำบัญชีและภาษีอากรให้กับบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก, บริการด้านเลขานุการและการจัดการทั่วไปสำหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริการด้านการจัดทำเงินเดือน  หากท่านต้องการที่จะจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย พนักงานผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมที่จะให้คำแนะนำในการเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ในระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น โครงสร้างพื้นฐานชั้นแนวหน้า ทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ

ไตรคอร์กรุ๊ป (“ไตรคอร์”) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านขยายธุรกิจระดับชั้นนำของเอเชีย ซึ่งมีองค์ความรู้ระดับโลก และมีสำนักงานซึ่งให้บริการทางธุรกิจ บริการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท บริการให้คำแนะนำแก่นักลงทุน บริการทรัพยากรบุคคลและเงินเดือน บริการทรัสต์สำหรับองค์กร (Corporate trust & debt services) การจัดการด้านธุรการกองทุน และบริการให้คำปรึกษาทางด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ   ไตรคอร์มีสำนักงานใหญ่ประจำที่ฮ่องกง เราให้บริการมากกว่า 21 ประเทศ/เขตการปกครอง มีเครือข่ายสำนักงานใน 47 เมือง เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในความดูแลมากกว่า 50,000 รายทั่วโลก  โดยจำนวนลูกค้าดังกล่าว กว่า 2,000 บริษัทเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเอเชีย และมากกว่า 40 % เป็นบริษัทที่อยู่ในรายชื่อบริษัทชั้นนำ 500 แห่งทั่วโลกจากการรวบรวมและจัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune  นอกจากนี้ไตรคอร์มีพนักงานกว่า 2,800 คน ซึ่งเป็นพนักงานที่มีใบรับรองทางวิชาชีพถึง 630 คน โดยเราพร้อมให้บริการที่สำคัญเพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีความมุ่งมั่นในการเติบโตทั้งในระดับเอเชียและระดับต่อไป

จุดแข็งของไตรคอร์ประกอบขึ้นจากประสบการณ์เชิงลึกในทุกๆ อุตสาหกรรม พนักงานที่มุ่งมั่น การดำเนินการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การปฏิบัติการตามมาตรฐาน การให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎระเบียบ และการติดต่อสื่อสารกับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย  ไตรคอร์มีความสามารถเฉพาะเพื่อปลดล็อกศักยภาพของธุรกิจของท่าน และช่วยให้ท่านก้าวไปข้างหน้าในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายในปัจจุบัน

 โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา: www.tricorglobal.com/locations/thailand

WebEngage แพลตฟอร์มการตลาดอัตโนมัติอยู่ในรายชื่อบริษัทเอเชียที่มีการเติบโตสูงประจำปี 2564 ของ Financial Times

Logo

มุมไบ อินเดีย–(บิสิเนสไวร์​)–21 เม.ย. 2564

WebEngage บริษัทด้านการตลาดอัตโนมัติเต็มรูปแบบได้รับการยอมรับจาก Financial Times ว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการเติบโตสูง 500 อันดับแรกของเอเชียแปซิฟิกโดยเปิดตัวในอันดับที่ 206 และเป็นบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

รายงานนี้รวบรวมโดยความร่วมมือกับ Nikkei Asia และผู้ให้บริการวิจัย Statista โดยจัดอันดับบริษัทในเอเชียแปซิฟิกตามอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ของรายได้ระหว่างปี 2559 ถึง 2562

การยอมรับนี้ตอกย้ำชื่อเสียงของบริษัทในมุมไบในฐานะแพลตฟอร์มมาร์เทคชั้นนำระดับโลกสำหรับธุรกิจผู้บริโภคดิจิทัล  การรวม WebEngage ในฐานะบริษัทที่มีการเติบโตสูงนั้นมาจากอัตราการเติบโตแบบสัมบูรณ์ที่ 233.7% และ CAGR 49.4% ระหว่างปี 2559 ถึง 2562

เมื่อเร็วๆ นี้ WebEngage ได้รับการยกย่องในฐานะหนึ่งในบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดของอินเดียในปี 2021โดย The Economic Times และ Statista

เมื่อพูดถึงการได้รับการยอมรับ Avlesh Singh ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าวว่า “นับเป็นช่วงเวลาที่น่ายินดีที่เราได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการเติบโตสูงในภูมิภาค APAC โดย FT  เราอยู่ในปีที่ 10 ของการดำเนินงานและนับเป็นการสร้างแบรนด์ที่เป็นที่เรารัก  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราได้ประสบความสำเร็จในการช่วยให้แบรนด์ผู้บริโภคสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่สมจริงและขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจที่จับต้องได้  เราเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้จะได้รับผลกระทบจาก COVID ในปี 2563 โดยเรากำลังดำเนินการเพื่อให้เติบโต 100% ในปี 2564  ด้วยความรักจากลูกค้าที่น่าทึ่งของเรา เราที่มุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีและขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมที่ชาญฉลาด

WebEngage เริ่มต้นจากการเป็นเครื่องมือบนเว็บและต่อมาได้ถูกนำไปใช้กับแพลตฟอร์มการตลาดอัตโนมัติแบบ full stack ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ทางบริษัทเป็นผู้นำในด้านบริการซอฟท์แวร์ Software-as-a-Service (SaaS) และขับเคลื่อนการเติบโตผ่านการมีส่วนร่วมและการรักษาลูกค้าอย่างชาญฉลาดสำหรับแบรนด์ชั้นนำของโลกใน 35 ประเทศ  WebEngage ให้บริการลูกค้าระดับกลางและระดับองค์กรหลายพันรายใน 35 ประเทศในประเภทธุรกิจเช่น อีคอมเมิร์ซ ฟินเทค การค้าออนไลน์ Edtech, Foodtech, การท่องเที่ยว และ OTA อุตสาหกรรมเกม เป็นต้น  WebEngage มี Blume Ventures, Indian Angel Network Fund, Capital Group, Social Capital, and India Quotient เป็นนักลงทุน

อ่านเวอร์ชันต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20210421005408/en/

ติดต่อ:

Priyam Jha, WebEngage, priyam.jha@webengage.com, +919560331169

Anusree Saha, WebEngage, anusree.saha@webengage.com, +918007166611

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย