Tag Archives: fico

ผลสำรวจ FICO เผย ผู้บริโภคชาวไทยยอมรับ “การขอสินเชื่อด้วยข้อมูลเท็จ” ในระดับที่น่ากังวล

Logo

คนไทยเกือบ 1 ใน 4 คิดว่าการจงใจให้ข้อมูลผิดๆ เพื่อขอสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่ออื่นๆ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้

กรุงเทพ–(BUSINESS WIRE)–24 กันยายน 2024

FICO (NYSE: FICO):

23% of Thais thought it was OK for people to exaggerate income on a loan application with a further 16% saying it was normal for people to do this. (Graphic: FICO)

คนไทย 23% คิดว่าการให้ข้อมูลรายได้เกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ในขณะที่อีก 16% ระบุว่าการกระทำเช่นนี้เป็นเรื่องปกติ (กราฟิก: FICO)

ประเด็นสำคัญ

  • คนไทยจำนวน 2 ใน 5 (คิดเป็น 39%) คิดว่าการให้ข้อมูลรายได้ของตนที่มากเกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับได้
  • คนไทยจำนวน 1 ใน 7 (คิดเป็น 14%) มองว่าการให้ข้อมูลรายได้ของตนอย่างไม่ถูกต้องเมื่อสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องปกติ
  • การปลอมแปลงใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันเป็นรูปแบบการฉ้อโกงที่คนไทยรับไม่ได้ที่สุด โดยคนไทยจำนวน 2 ใน 3 (คิดเป็น 68%) มองว่าเป็นการกระทำที่ไม่อาจยอมรับได้

FICO ซึ่งเป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ระดับโลกในปัจจุบันได้เปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการฉ้อโกงของผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งเผยให้เห็นทัศนคติที่น่าตกใจเกี่ยวกับการฉ้อโกงทางการเงินของบุคคลที่หนึ่งทั้งในตลาดทั่วโลกและตลาดในประเทศไทย

ผลการสำรวจพบว่า แม้ว่าผู้ทำแบบสำรวจชาวไทยส่วนใหญ่มองว่าการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จเมื่อสมัครผลิตภัณฑ์ทางการเงินและเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ แต่ประชากรจำนวนมากกลับไม่คิดเช่นนั้น

ชาวไทยจำนวน 2 ใน 5 คิดว่าการให้ข้อมูลรายได้ของตนอย่างไม่ถูกต้องเมื่อขอเปิดบัญชีธนาคาร (คิดเป็น 39%) สมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย (คิดเป็น 39%) และสมัครขอสินเชื่อรถยนต์ (คิดเป็น 39%) เป็นเรื่องปกติหรือยอมรับได้ในบางกรณี นอกจากนี้ ชาวไทยจำนวน 2 ใน 5 (คิดเป็น 39%) ยังมองว่าการให้ข้อมูลรายได้ที่มากเกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับได้

มุมมองเหล่านี้สอดคล้องกับทัศนคติของผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยผลการสำรวจเปิดเผยว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (คิดเป็น 56%) ปฏิเสธอย่างหนักแน่นต่อแนวคิดในการให้ข้อมูลรายได้ที่มากเกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อ โดยมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่อาจยอมยอมรับได้เป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่ผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 4 (คิดเป็น 24%) คิดว่าเป็นการกระทำที่ยอมรับได้ในบางสถานการณ์ และผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 7 (คิดเป็น 15%) มองว่าเป็นเรื่องปกติ

“ผู้บริโภคต้องเข้าใจว่าการให้ข้อมูลผิดๆ เมื่อสมัครผลิตภัณฑ์ทางการเงินอาจทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ร้ายแรงตามมาได้ แม้ว่าจะให้ข้อมูลผิดๆ โดยไม่ตั้งใจก็ตาม” คุณ Aashish Sharma หัวหน้าส่วนงานด้านการจัดการวงจรความเสี่ยงและการตัดสินใจประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ FICO กล่าว “ธนาคารสามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงเกี่ยวกับ “การขอสินเชื่อด้วยข้อมูลเท็จ” ได้โดยปรับปรุงความสามารถในการตรวจจับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันหนี้เสีย และในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ลูกค้ากระทำการฉ้อโกงได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fico.com/en/latest-thinking/ebook/consumer-survey-2023-digital-banking-customer-preferences-and-fraud-controls

การยอมรับการสมัครขอสินเชื่อที่ส่อทุจริตสร้างความวิตกกังวลให้กับบรรดาผู้ให้กู้

ผลสำรวจของ FICO เปิดเผยว่าผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 1 ใน 4 (คิดเป็น 25%) มองว่าการให้ข้อมูลเท็จเมื่อสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในบางกรณี ในขณะที่ผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 5 (คิดเป็น 14%) มองว่าเป็นเรื่องปกติ ข้อมูลนี้สอดคล้องกับปัญหาการผิดนัดชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ตามรายงานของสถาบันข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่เน้นย้ำถึงความท้าทายด้านการประเมินความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

แม้ว่าข้อมูลในใบสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าเดิมจะดูถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็อาจมีการใช้ความสัมพันธ์ด้านการธนาคารที่มีมาแต่เดิมเพื่อกระทำการฉ้อโกงได้เช่นกัน ผู้สมัครสามารถบิดเบือนกระบวนการกู้ยืมด้วยการให้ข้อมูลรายได้ที่สูงกว่าความเป็นจริง เช่น ใส่ข้อมูลรายรับจากการประกอบอาชีพอิสระหรือเงินโบนัสที่มากเกินจริง รวมถึงไม่ใส่ข้อมูลหนี้สินหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเงินส่วนตัวที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ให้กู้ตรวจพบข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้ได้ยากหากไม่มีมาตรการตรวจสอบความถูกต้องในเชิงรุกและละเอียดถี่ถ้วน

“ธนาคารจำเป็นต้องยกระดับกลยุทธ์การประเมินความเสี่ยงเพื่อรับมือกับการสมัครขอสินเชื่อที่ส่อทุจริต” คุณ Sharma กล่าว “กลยุทธ์นี้ควรประกอบไปด้วยการบูรณาการการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม การนำการวิเคราะห์การตรวจหาความผิดปกติมาใช้ และเพิ่มความสามารถในการตรวจหาสัญญาณเริ่มต้นของการฉ้อโกงแบบบัญชีฉ้อฉลหรือการฉ้อโกงที่กำลังจะเกิดขึ้น”

การปลอมแปลงใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันเป็นการฉ้อโกงที่รับไม่ได้ที่สุด

งานวิจัยของ FICO ระบุว่า การปลอมแปลงใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นรูปแบบการฉ้อโกงที่หลายคนรับไม่ได้ที่สุด โดยผู้บริโภคทั่วโลกประมาณ 2 ใน 3 คิดว่าการแจ้งมูลค่าทรัพย์สินที่ถูกขโมยสูงเกินจริงหรือเพิ่มรายการสิ่งเรียกร้องสินไหมทดแทนเท็จเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งมุมมองนี้สอดคล้องกับความเห็นของผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 2 ใน 3 (คิดเป็น 68%)

ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปก็สอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกเช่นกัน โดยผู้บริโภคที่โลกครึ่งหนึ่งรวมถึงผู้บริโภคชาวไทยกว่าครึ่งหนึ่งมีความเห็นว่าการให้ข้อมูลรายได้เกินจริงเมื่อทำสัญญาโทรศัพท์มือถือ (คิดเป็น 55%) หรือการสมัครขอสินเชื่อรถยนต์ (คิดเป็น 57%) เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้

“ผลสำรวจของ FICO เผยให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากปรับเปลี่ยนมุมมองที่ตนมีต่อการฉ้อโกงการสมัครขอสินเชื่อตามแต่สถานการณ์” คุณ Sharma กล่าว “สถาบันการเงินต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ป้องกันการฉ้อโกงอยู่เสมอ เพื่อให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างเท่าทัน ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจว่าลูกค้าจะไม่ถูกชักจูงให้ทำกิจกรรมที่ผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมายโดยไม่ตั้งใจ”

การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยบริษัทวิจัยอิสระซึ่งปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย โดยมีชาวไทยในวัยผู้ใหญ่ 1,002 คนทำแบบสำรวจนี้ รวมถึงผู้บริโภครายอื่นๆ อีกราว 12,000 คนในแคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล โคลอมเบีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย สหราชอาณาจักร และสเปน

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/54124883/en

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ข้อมูลติดต่อ

Lizzy Li
RICE for FICO
+65 9034 7768
lizzy.li@ricecomms.com

Saxon Shirley
FICO
+65 9171 0965
saxonshirley@fico.com

ที่มา: FICO.

การสํารวจ FICO: คนไทย 1 ใน 3 ปฏิเสธการสมัครธนาคารและบัตรเครดิต เนื่องจากการตรวจสอบตัวตนที่ซับซ้อน

Logo

ในโลกที่เน้นดิจิทัลเป็นอันดับแรก การยืนยันตัวตนจะต้องไม่ขัดขวางธุรกิจใหม่

กรุงเทพ–(BUSINESS WIRE)–01 สิงหาคม 2024

(NYSE: FICO)

1 in 3 Thais have abandoned opening a personal bank account due to complex identity checks. (Graphic: FICO)

คนไทย 1 ใน 3 เลิกเปิดบัญชีธนาคารส่วนบุคคล เนื่องจากการตรวจสอบตัวตนที่ซับซ้อน (กราฟิก: FICO)

จุดเด่น

  • ความสะดวกในการใช้งานเป็นสิ่งสําคัญที่สุดสําหรับคนไทย รองลงมาคือการป้องกันการฉ้อโกงที่ดี
  • ผู้บริโภคสองในสามคาดว่าจะตอบคําถามไม่เกิน 10 ข้อ มิฉะนั้นพวกเขาจะละทิ้งการสมัครบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  • การตรวจสอบตัวตนมีเพิ่มมากขึ้น แต่คนไทยหนึ่งในสามจะหยุดหรือลดการใช้บัญชีที่มีอยู่ หากประสบการณ์การยืนยันตัวตนไม่ดี

FICO ผู้นําด้านซอฟต์แวร์วิเคราะห์ระดับโลก ได้เปิดเผยผลการวิจัยการฉ้อโกงผู้บริโภคทั่วโลกล่าสุด โดยเน้นว่าผู้บริโภคในประเทศไทยมีความอดทนต่ำต่อประสบการณ์ดิจิทัลที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเปิดบัญชีผ่านแอปบนมือถือหรือเว็บไซต์ จากการศึกษาพบว่าคนไทยที่เลือกบัญชีการเงินใหม่ ให้ความสําคัญกับความสะดวกในการใช้งานเหนือสิ่งอื่นใด

เกือบสองในสาม (63%) คาดว่าจะตอบคําถามไม่เกิน 10 ข้อ มิฉะนั้นพวกเขาจะละทิ้งการสมัครบัญชีธนาคารส่วนบุคคล มากกว่าหนึ่งในสี่ (26%) จะออกกลางคันหากถูกถามมากกว่าห้าข้อ

ไม่ว่าจะถามคําถามกี่ข้อ หนึ่งในห้าของคนไทยจะเลิกสมัครบัญชีธนาคารส่วนบุคคลหลังจากผ่านไป 10 นาที

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.fico.com/en/latest-thinking/ebook/consumer-survey-2023-digital-banking-customer-preferences-and-fraud-controls

“ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ธนาคารดิจิทัลและต้องการประสบการณ์การเปิดบัญชีที่ราบรื่น” Aashish Sharma หัวหน้าส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านบริหารจัดการความเสี่ยงในวงจรชีวิตและการตัดสินใจของ FICO กล่าว “เพื่อตอบสนองความคาดหวังเหล่านี้ การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนสําคัญที่สถาบันการเงินต้องดําเนินการเพื่อรักษาลูกค้าและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าคือการปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ”

ความหงุดหงิดเสียดสีมีมากกว่าความกังวลเรื่องการฉ้อโกง

ในปีที่ผ่านมา คนไทยมากกว่าครึ่งสังเกตเห็นการตรวจสอบตัวตนมากขึ้น เมื่อเข้าสู่ระบบบัญชีธนาคาร (60%) หรือซื้อสินค้าออนไลน์ (63%)

การตรวจสอบตัวตนที่เพิ่มขึ้นโดยธนาคารไทยเป็นการตอบสนองโดยตรงต่อปัญหาการโจรกรรมข้อมูลประจําตัวที่สำคัญในประเทศ ผู้บริโภคหนึ่งในแปด(12%) ยืนยันว่าข้อมูลประจำตัวของพวกเขาถูกใช้อย่างฉ้อฉลเพื่อเปิดบัญชี และเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) สงสัยว่ามีการใช้ข้อมูลดังกล่าว

อย่างไรก็ตามคามยุ่งยากในการตรวจสอบตัวตนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ การสํารวจของ FICO เปิดเผยว่าลูกค้าธนาคารหนึ่งในสามได้หยุดหรือลดการใช้บัญชีธนาคารส่วนบุคคลและบัตรเครดิตที่มีอยู่ โดยอ้างถึงกระบวนการยืนยันตัวตนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน

ขั้นตอนการสมัครสินเชื่อที่อยู่อาศัยสมควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดยิ่งขึ้น

ผู้บริโภคชาวไทยแสดงความอดทนต่อกระบวนการเปิดบัญชีในระดับที่แตกต่างกัน พวกเขามีแนวโน้มที่จะละทิ้งการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล (39%) เนื่องจากการตรวจสอบตัวตนที่ซับซ้อนหรือใช้เวลานาน

ประมาณหนึ่งในสาม (35%) ละทิ้งการสมัครบัตรเครดิตด้วยเหตุผลเดียวกัน หรือรู้สึกหงุดหงิดมากพอที่จะละทิ้งการสมัครสินเชื่อที่อยู่อาศัย (30%)

นอกจากนี้ มีผู้บริโภคชาวไทยเพียงหนึ่งในสิบ (10%) เท่านั้นที่รู้สึกสบายใจที่จะเปิดบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัยผ่านช่องทางดิจิทัล ในขณะที่ 36% เลือกที่จะสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลด้วยตนเองที่สาขา มากกว่าจะเลือกใช้ทางเลือกทางออนไลน์

ในขณะที่ผู้บริโภคบางรายมีความอดทนต่อกระบวนการโดยละเอียดสําหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางอย่างที่ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดมากขึ้น แต่การสํารวจแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความคาดหวังในความสะดวกในการใช้งานยังคงอยู่ในระดับสูง

“เนื่องจากมีลูกค้าใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น เพื่อการอนุมัติสินเชื่อออนไลน์ที่รวดเร็วขึ้น ธนาคารจึงต้องจัดการและลดความคับข้องใจของผู้บริโภคที่เกิดจากการตรวจสอบตัวตนที่ไม่มีประสิทธิภาพ” Sharma กล่าวเสริม “คนไทยเกือบครึ่งหนึ่ง (44%) จะไม่กรอกใบสมัครสินเชื่อที่อยู่อาศัยดิจิทัลหรือสินเชื่อส่วนบุคคล (48%) หากมีคําถามมากกว่า 10 ข้อ”

การชื่นชมข้อดีของแอปพลิเคชันดิจิทัล

เมื่อถูกถามถึงประโยชน์ของการเปิดบัญชีแบบดิจิทัลผ่านแอปของผู้ให้บริการ ความสะดวกในการใช้งานและความรวดเร็วถูกระบุว่าเป็นข้อได้เปรียบสูงสุด (74%) ในทํานองเดียวกัน คนไทยจัดอันดับความเร็ว (75%) เป็นข้อได้เปรียบสูงสุด ผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ ตามมาด้วยความสามารถในการเปิดบัญชีได้จากทุกที่ (72%)

ในทางตรงกันข้าม คนไทยสี่ในห้า (80%) เชื่อว่าการสมัครในสาขามีความปลอดภัยที่ดีกว่า โดยมีเพียงหนึ่งในสอง (49%) ที่ถือว่าความปลอดภัยเป็นข้อดีของการสมัครบัญชีดิจิทัลผ่านแอปของผู้ให้บริการ และสองในห้า (42%) ผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ

“ผู้บริโภคต้องการประสบการณ์การเริ่มต้นใช้งานที่ราบรื่น แต่ความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งสําคัญยิ่ง” Sharma กล่าว “ผู้บริโภคต้องการกระบวนการเริ่มต้นใช้งานและการตรวจสอบตัวตนที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น ไม่ใช่กระบวนการที่มีความเสี่ยงมากขึ้น แม้ว่าพวกเขาจะชื่นชมการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมสําหรับการทำธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง แต่พวกเขาคาดหวังว่าธนาคารจะปรับปรุงกระบวนการโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การตรวจสอบยืนยันตัวตนที่ได้รับการปรับปรุง การวิเคราะห์ประวัติการทําธุรกรรม ระบบโอเพ่นแบงค์กิ้ง และฐานข้อมูลของรัฐบาล”

การสํารวจนี้ดําเนินการในเดือนพฤศจิกายนปี 2023 โดยบริษัทวิจัยอิสระที่ปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย จากการสํารวจผู้ใหญ่ชาวไทย 1,002 คน พร้อมด้วยผู้บริโภคอีกประมาณ 12,000 คนในแคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล โคลอมเบีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย สหราชอาณาจักร และสเปน

เกี่ยวกับ FICO

FICO (NYSE: FICO) ขับเคลื่อนการตัดสินใจที่ช่วยให้ผู้คนและธุรกิจทั่วโลกประสบความสำเร็จ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1956 โดยเป็นผู้บุกเบิกการใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในการดําเนินงาน FICO ถือสิทธิบัตรมากกว่า 200 ฉบับในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เพิ่มความสามารถในการทํากําไร ความพึงพอใจของลูกค้า และการเติบโตของธุรกิจในด้านบริการทางการเงิน ประกันภัย โทรคมนาคม การดูแลสุขภาพ การค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย การใช้โซลูชัน FICO ธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ ทําทุกอย่างตั้งแต่การปกป้องบัตรชําระเงิน 4 พันล้านใบจากการฉ้อโกง ไปจนถึงการปรับปรุงการเข้าถึงทางการเงิน ไปจนถึงการเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน คะแนน FICO® ซึ่งใช้โดย 90% ของผู้ให้กู้ชั้นนําของสหรัฐอเมริกา เป็นตัวชี้วัดมาตรฐานของความเสี่ยงด้านเครดิตผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา และมีให้บริการในประเทศอื่นๆ กว่า 40 ประเทศ ซึ่งช่วยปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง การเข้าถึงสินเชื่อ และความโปร่งใส เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.fico.com

เข้าร่วมการสนทนาที่ https://x.com/FICO_corp & http://www.fico.com/en/blogs/

สําหรับข่าวสารและแหล่งข้อมูลสื่อของ FICO โปรดไปที่ www.fico.com/news

FICO เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Fair Isaac Corporation ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/ 54094019/en

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ติดต่อ

Lizzy Li

RICE สําหรับ FICO

+65 9034 7768
lizzy.li@ricecomms.com

Saxon Shirley

FICO

+65 9171 0965
saxonshirley@fico.com

ที่มา: FICO

การสำรวจ FICO: คนไทยเกือบ 1 ใน 2 กังวลเกี่ยวกับการถูกหลอกลวงเนื่องจากความเสี่ยงในการชำระเงินแบบเรียลไทม์เพิ่มมากขึ้น

Logo

คนไทย 45% กังวลมากที่สุดเกี่ยวกับการถูกหลอกให้จ่ายเงินให้กับอาชญากร

กรุงเทพมหานคร–(BUSINESS WIRE)–23 พฤษภาคม 2024

(NYSE: FICO)

ประเด็นสำคัญ

  • การฉ้อโกงการชำระเงินเป็นปัญหาอาชญากรรมทางการเงินอันดับหนึ่งสำหรับคนไทย 45%
  • ความกังวลเรื่องการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวยังคงมีอยู่ โดย 61% เชื่อว่ามีหรืออาจตกเป็นเหยื่อ
  • 36% ของผู้บริโภคชาวไทยยกให้การป้องกันการฉ้อโกงและการหลอกลวงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับบัญชีการเงินใหม่

FICO ผู้เป็นบริษัทซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ชั้นนำระดับโลก ได้เปิดเผยผลการวิจัยเรื่องการฉ้อโกงผู้บริโภคระดับโลกล่าสุด ซึ่งเผยให้เห็นถึงความเข้าใจของคนไทยเกี่ยวกับการหลอกลวงในการชำระเงินแบบเรียลไทม์ท่ามกลางกระแสการใช้ช่องทางการชำระเงินใหม่ ที่สะดวก และรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า ความกังวลหลักสำหรับคนไทยยังคงเป็นเรื่องความเสี่ยงที่จะถูกหลอกให้ส่งเงินไปให้อาชญากร (45%) ซึ่งทำให้บุคคลต้องพบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นทันทีและไม่สามารถเพิกถอนได้ซึ่งแทบจะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินคืน

นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลยังคงมีอยู่ โดยมีคนไทย 25% ระบุว่าเป็นปัญหาอาชญากรรมทางการเงินอันดับต้นๆที่พวกเขากังวล การฉ้อโกงประเภทนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นๆนอกเหนือไปจากการสูญเสียทางการเงิน เช่น คะแนนเครดิตที่ลดลงและกระบวนการที่ท้าทายในการฟื้นฟูความสมบูรณ์ทางการเงิน

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.fico.com/en/latest-thinking/ebook/consumer-survey-2023-digital-banking-customer-preferences-and-fraud-controls

“การนำการชำระเงินแบบเรียลไทม์มาใช้อย่างรวดเร็วในประเทศไทยทำให้ประเทศไทยตกเป็นเป้าหมายสำคัญของมิจฉาชีพในภูมิภาคนี้” C K Leo หัวหน้าฝ่ายการฉ้อโกง การรักษาความปลอดภัย และอาชญากรรมทางการเงินของ FICO ในเอเชียแปซิฟิกกล่าว “ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นของคนไทยเกี่ยวกับการหลอกลวงการชำระเงิน และเนื่องจากการชำระเงินแบบเรียลไทม์มีเพิ่มมากขึ้น เรากำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมทางการเงิน แต่ด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเพิ่มการเฝ้าระวังผู้ฉ้อโกงที่แฝงตัวอยู่ในอาณาจักรดิจิทัล”

ความตระหนักเรื่องการโจรกรรมข้อมูลประจำตัวในประเทศไทยสูงที่สุดในเอเชีย

อัตราของผู้ตอบแบบสอบถามที่รายงานว่าข้อมูลระบุตัวตนที่ถูกขโมยไปถูกใช้เพื่อเปิดบัญชีทางการเงินในประเทศไทยนั้นสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่สำรวจอย่างมาก 12% ของคนไทยระบุว่าข้อมูลประจำตัวของพวกเขาถูกขโมยและถูกใช้เพื่อเปิดบัญชีโดยมิจฉาชีพ ในขณะที่รายงานเดียวกันนี้มีชาวฟิลิปปินส์เพียง 5% และชาวอินโดนีเซียเพียง 3% เท่านั้น เมื่อพิจารณาจากประชากรผู้ใหญ่ของประเทศไทย อัตรา 12% นี้จึงแปลว่ามากกว่า 8.6 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความกังวลอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล แต่ก็ยังมีความไม่สอดคล้องกันระหว่างการรับรู้และความเป็นจริงในหมู่คนไทย ประมาณ 17% เชื่อว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่พวกเขาจะกลายเป็นเหยื่อ ในขณะที่ 31% มองว่าเป็นไปได้ และ 14% มั่นใจว่าตัวตนของพวกเขายังคงไม่มีใครแตะต้อง

“แม้ว่าบางคนอาจมองข้ามความเสี่ยงของการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวในประเทศไทย แต่คนนับล้านยังคงมีความเสี่ยงอยู่” Leo กล่าวเสริม “สิ่งนี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มความตระหนักรู้และมาตรการเชิงรุก ด้วยการทำลายไซโล (Silo) และบูรณาการการตรวจสอบตัวตนและกระบวนการตรวจจับการฉ้อโกง เราจึงสามารถปรับปรุงแอปพลิเคชันและเสริมสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าที่ถูกกฎหมายได้”

คนไทยแสวงหาความสมดุลระหว่างการป้องกันการฉ้อโกงที่ดีและความสะดวกสบาย

เมื่อเลือกผู้ให้บริการรายใหม่สำหรับบัญชีการเงิน ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการป้องกันการฉ้อโกงที่มีประสิทธิภาพและความสะดวกในการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันการฉ้อโกงที่ดีนั้นล้ำหน้าไปมาก ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคุณภาพที่สำคัญที่สุดโดยผู้บริโภคชาวไทย 36%  ในขณะที่ความสะดวกในการใช้งานก็มีความสำคัญเช่นกัน คิดเป็นอัตรา 36% ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น การบริการลูกค้าที่ดี นโยบายต่อต้านการฟอกเงินที่เข้มงวด แนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี การใช้ข้อมูลลูกค้าอย่างมีจริยธรรม การปฏิบัติที่เป็นธรรม และความคุ้มค่าคุ้มราคา ถือว่ามีความสำคัญน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

“การป้องกันการฉ้อโกงถูกมองว่าเป็นจุดขายมากกว่าที่จะเป็นเพียงศูนย์ต้นทุนสำหรับธนาคาร” Leo กล่าวสรุป “ผู้บริโภคตระหนักดีว่าภัยคุกคามจากการโจรกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบออนไลน์อยู่ในขณะนี้ ทำให้การป้องกันการฉ้อโกงที่แข็งแกร่งเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการตัดสินใจของพวกเขาด้วย”

การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยบริษัทวิจัยอิสระที่ปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย จากการสำรวจผู้ใหญ่ชาวไทยจำนวน 1,002 คน พร้อมด้วยผู้บริโภคอีกประมาณ 12,000 คนในแคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล โคลอมเบีย เม็กซิโก อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสเปน

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ติดต่อ

Lizzy Li
RICE สำหรับ FICO
+65 9034 7768
lizzy.li@ricecomms.com

Saxon Shirley
FICO
+65 9171 0965
saxonshirley@fico.com

แหล่งที่มา: FICO.

ผลสำรวจของ FICO: คนไทยครึ่งหนึ่งเชื่อว่าเป็นเรื่องปกติที่จะแสดงรายได้เกินจริงในการขอสินเชื่อและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

Logo

การเงินที่ยืดเยื้อเนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้หลายคนพิจารณาที่จะให้ข้อมูลเท็จ

กรุงเทพมหานคร– 30 พฤษภาคม 2566 (NYSE: FICO)

บริษัท FICO ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ชั้นนำระดับโลก ได้ประกาศการค้นพบเพิ่มเติมจากแบบสำรวจการฉ้อโกงของผู้บริโภค ที่ได้สำรวจทัศนคติและความพึงพอใจต่อการตรวจสอบการฉ้อโกงในวันนี้ การศึกษาวิจัยดังกล่าวเปิดเผยว่าชาวไทยกว่าครึ่งเต็มใจทำการทุจริตเพื่อขอสินเชื่อหรือยื่นเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน แต่อย่างไรก็ตาม FICO ได้เน้นย้ำว่าสถาบันการเงินยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นและผลักดันยอดขายผ่านฟังก์ชันการป้องกันการฉ้อโกงให้ประสบความสำเร็จได้

FICO Survey: Half of Thais Believe It Is OK to Exaggerate Income on Loan Applications and Insurance Claims (Graphic: FICO)

คนไทยครึ่งหนึ่งเชื่อว่าเป็นเรื่องปกติที่จะแสดงรายได้เกินจริงในการขอสินเชื่อและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (กราฟิก: FICO)

ข้อมูลเพิ่มเติม:

https://www.fico.com/es/latest-thinking/ebook/consumer-survey-2022-fraud-identity-and-digital-banking-thailand

การให้ข้อมูลเท็จถือว่าเป็นที่ยอมรับได้สำหรับหลายๆ คน

เมื่อถูกถามเกี่ยวกับทัศนคติของพวกเขาต่อการให้ข้อมูลเท็จเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินหรือให้มูลค่าทรัพย์สินที่มากเกินความเป็นจริง ซึ่งเป็นที่รู้จักในวงการธนาคารว่าเป็นการฉ้อโกงโดยบุคคลที่หนึ่ง คนไทยครึ่งหนึ่งสนับสนุนพฤติกรรมเหล่านี้ มีประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่ามีบางสถานการณ์ที่เป็นเรื่องปกติที่จะแสดงรายได้เกินจริงในการขอสินเชื่อทั่วไปหรือสินเชื่อบ้าน ในขณะที่อีก 25 เปอร์เซ็นต์คิดว่าเป็นเรื่องปกติที่จะทำเช่นนั้น การสำรวจพบว่าผู้บริโภคในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกินจริงหรือมีเพิ่มรายการในการเรียกร้องด้วย

“ความเต็มใจที่จะทำการฉ้อโกงเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ถือเป็นสัญญาณว่าธนาคารไทยจำเป็นจะต้องหนุนโมเดลป้องกันการฉ้อโกงเป็นอย่างยิ่ง” C.K. Leo หัวหน้าด้านการฉ้อโกง ความปลอดภัย และอาชญากรรมทางการเงินในเอเชียแปซิฟิก บริษัท FICO กล่าว “กลยุทธ์การป้องกันการฉ้อโกงที่รัดกุมไม่เพียงแต่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับผลกำไรของธุรกิจด้วย”

ความเชื่อมั่นนี้สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิเช่น อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ทั้งยังเป็นที่สนใจมากขึ้นในมาเลเซีย  ที่ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 60 เปอร์เซ็นกล่าวว่าพฤติกรรมเช่นนั้นเป็นเรื่องปกต

ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าธนาคารในประเทศไทยอาจทำการประเมินความเสี่ยงได้อย่างไม่ถูกต้อง อันเป็นผลมาจากข้อมูลที่เป็นเท็จในใบสมัคร ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียทางการเงินจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่สูงเกินจริง นอกจากนี้ลูกค้าอาจไม่ทราบว่าการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในเอกสารยื่นสมัครหรือในการเรียกร้องนั้นผิดกฎหมาย

“สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ซบเซา ยังทำให้ส่งผลร้ายต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้คนไทยบางส่วนหมดหวังในการเข้าถึงสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นการฉ้อโกง” Leo กล่าว “ด้วยการปรับปรุงความสามารถในการตรวจจับข้อมูลที่บิดเบือน สถาบันการเงินสามารถป้องกันตนเองจากการขาดทุนจากหนี้สูญ ในขณะเดียวกันก็นำลูกค้าออกจากเส้นทางที่น่าเศร้านั้นได้”

ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและการวิเคราะห์อย่างเต็มที่เพื่อผลักดันการป้องกันการฉ้อโกง

บ่อยครั้งที่สถาบันการเงินมีหลักฐานที่จำเป็นในการแยกแยะระหว่างการสมัครที่เป็นการฉ้อโกงและข้อมูลการสมัครที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามทีมป้องกันการทุจริตมักไม่สามารถใช้ข้อมูลนี้ได้เนื่องจากข้อมูลถูกแยกไว้ ความไม่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ส่งผลให้ทำการป้องกันการฉ้อโกงได้อย่างไม่เพียงพอและกระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้า ธนาคารสามารถช่วยเหลือตรวจสอบลูกค้ามีความยุ่งยากและใช้เวลานาน ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นและเกิดความซ้ำซ้อนซึ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกหงุดหงิด

“ด้วยสภาพการธนาคารที่มีการแข่งขันสูงของภูมิภาคนี้ การใช้กลยุทธ์ป้องกันการฉ้อโกงที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง” Leo กล่าว “เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ทีมป้องกันทุจริตต้องสร้างสมดุลระหว่างการป้องกันการฉ้อโกงที่เข้มแข็งและการตอบสนองความต้องการอย่างถูกต้องตามกฎหมายของลูกค้า สิ่งนี้สามารถทำได้ด้วยวิธีการแบบองค์รวมในการเข้าถึงข้อมูลผู้สมัคร ซึ่งช่วยให้สามารถแยกแยะได้อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างใบสมัครที่ฉ้อฉลและใบสมัครที่ถูกต้องตามกฎหมาย การใช้โมเดลการวิเคราะห์และแมชชีนเลิร์นนิงจะช่วยเสริมการป้องกันการฉ้อโกงของธนาคาร ซึ่งนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าที่ดีขึ้นได้”

รายงานนี้จัดทำขึ้นในช่วงปลายปี 2022 โดยสำรวจ 1,000 คน จากแต่ละประเทศใน 14 ประเทศดังนี้ ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล เม็กซิโก โคลอมเบีย เปรู มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวีเดน

เกี่ยวกับ FICO

FICO (NYSE: FICO) มุ่งมั่นในการตัดสินใจที่จะช่วยให้ผู้คนและธุรกิจทั่วโลกให้ประสบความสำเร็จ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1956 เป็นผู้บุกเบิกการใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ AI และวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน FICO ถือครองสิทธิบัตรมากกว่า 200 ฉบับในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า และการเติบโตของธุรกิจในบริการทางการเงิน การผลิต โทรคมนาคม การดูแลสุขภาพ การค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อใช้โซลูชัน FICO ธุรกิจในเกือบ 120 ประเทศจะสามารถทำได้ทุกอย่างตั้งแต่การปกป้องบัตรชำระเงิน 2.6 พันล้านใบจากการฉ้อโกง การปรับปรุงการรวมทางการเงิน ไปจนถึงการเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน 90% ของผู้ให้กู้ชั้นนำของสหรัฐใช้ The FICO® Score เป็นการวัดมาตรฐานของความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ซึ่งช่วยปรับปรุงการจัดการความเสี่ยง การเข้าถึงสินเชื่อ และความโปร่งใส

เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ http://www.fico.com.

เข้าร่วมการสนทนาได้ที่ https://twitter.com/fico & http://www.fico.com/en/blogs/

ข่าวสารและแหล่งข้อมูลสื่อของ FICO โปรดไปที่ www.fico.com/news.

FICO เป็นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของ Fair Isaac Corporation ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/53399915/en

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ติดต่อ

Neil Mirano
RICE for FICO
+65 3157 5680
neil.mirano@ricecomms.com

Saxon Shirley
FICO
+65 9171 0965
saxonshirley@fico.com

แหล่งที่มา: FICO

การสำรวจของ FICO: 1 ใน 6 ของผู้บริโภคชาวไทยจะออกจากธนาคารที่ใช้บริการในปัจจุบันไปหาธนาคารคู่แข่งมากขึ้นหากพวกเขาไม่ได้รับการการตอบสนองต่อการหลอกลวง

Logo

ธนาคารไทยที่ต้องการรักษาลูกค้าไว้และต้องการเพิ่มจำนวนลูกค้า จำเป็นต้องปรับปรุงการวิธีการจัดการต่อการหลอกลวง

กรุงเทพมหานคร–(BUSINESS WIRE)–10 พฤศจิกายน 2565

ไฮไลท์

  • ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 1 ใน 6 (15%) จะเปลี่ยนไปใช้บริการธนาคารคู่แข่ง หากพวกเขารู้สึกไม่พอใจกับการตอบสนองด้านการจัดการต่อการหลอกลวงของธนาคารที่พวกเขาใช้บริการอยู่ในปัจจุบัน
  • คนไทยกังวลกับการหลอกลวงโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าของบัญชี (ATO) มากที่สุด (33%) ตามมาด้วยการหลอกลวงเกี่ยวกับการใช่บัตร (22%)
  • 11 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคชาวไทยเชื่อว่าธนาคารสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่ทำอยู่เพื่อปกป้องพวกเขา

ผลสำรวจเรื่องการฉ้อโกงทั่วโลกล่าสุดโดย FICO เผยว่าผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 1 ใน 6 คนจะเปลี่ยนไปใช้บริการธนาคารคู่แข่ง หากพวกเขารู้สึกไม่พอใจกับการจัดการต่อการหลอกลวง  ฉ้อโกง ของธนาคารที่พวกเขาใช้บริการอยู่ ประเด็นที่สำคัญคือช่วงหลังการระบาดครั้งใหญ่ ผู้บริโภคเกือบ 3 ใน 4 กล่าวว่าพวกเขาจะยังคงทำธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดทางออนไลน์ต่อไปและพวกเขาตระหนักมากขึ้นถึงความจำเป็นในการป้องกันการฉ้อโกงทางออนไลน์อย่างแข็งแกร่ง

ในตลาดที่มีผู้บริโภคที่ทำธุรกรรมผ่านธนาคารประมาณ 56 ล้านราย ผู้บริโภคชาวไทย 1 ใน 6 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีคนมากกว่า 8 ล้านคนที่เปลี่ยนไปใช้บริการธนาคารคู่แข่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถาบันสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ดีที่สุด

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.fico.com/en/latest-thinking/ebook/fico-consumer-fraud-survey-2021-thailand

คนไทยกังวลมากที่สุดกับการแอบอ้างเป็นเจ้าของบัญชี  (ATO) ทว่าอาจถูกละเลยเมื่อเทียบกับภัยคุกคามอื่น

ผลสำรวจจากหลายสิบประเทศเผยว่า ประเทศไทยมีอัตราการฉ้อโกงโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าของบัญชี (ATO) สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตแอบอ้างเพื่อเป็นผู้ควบคุมบัญชี ในความเป็นจริง ผู้บริโภคชาวไทยหนึ่งในสี่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมประเภทนี้ เมื่อเทียบกับ 18% ของค่าเฉลี่ยของทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ ผู้บริโภคชาวไทยจึงตื่นตัวต่อภัยคุกคามจากการฉ้อโกงโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าของบัญชี (ATO) มากที่สุด หนึ่งในสามกล่าวว่าการฉ้อโกงประเภทนี้ทำให้พวกเขากังวลมากที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น มีเพียง 79 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เคยประสบปัญหาการฉ้อโกงโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าของบัญชี (ATO) เท่านั้นที่ได้รายงานการฉ้อโกงไปยังธนาคารของตน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอัตราการรายงานอาจไม่สะท้อนให้เห็นขอบเขตที่แท้จริงของปัญหาดังกล่าว

ในขณะเดียวกัน ยังมีกลโกงอื่น ๆ ที่คนไทยอาจให้ความสนใจไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น แม้ว่าผู้บริโภคชาวไทย 78 เปอร์เซ็นต์วางแผนที่จะใช้การชำระเงินแบบเรียลไทม์ในปีต่อ ๆ ไป แต่มีเพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่กังวลกับการถูกหลอกให้ส่งเงินให้มิจฉาชีพมากที่สุด ซึ่งเป็นประเภทของอาชญากรรมที่เรียกว่าการฉ้อโกงแบบ Authorized Push Payment (APP)

คุณ CK Leo ผู้นำด้านการจัดการการฉ้อโกง การรักษาความปลอดภัย และอาชญากรรมทางการเงินในเอเชียแปซิฟิกของ FICO กล่าวว่า “การฉ้อโกงแบบ APP กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทย เนื่องจากเราเห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วในการใช้การชำระเงินแบบเรียลไทม์ มิจฉาชีพให้ความสนใจต่อการฉ้อโกงนี้เนื่องจากพวกเขาสามารถนำเงินออกจากบัญชีได้ทันที ทำให้พวกเขาสามารถหลอกเหยื่อแล้วฟอกเงินผ่านบัญชีหลายบัญชีได้”

“การป้องกันการชำระเงินแบบเรียลไทม์ต้องใช้ระบบวิเคราะห์ที่ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของลูกค้า เช่น การใช้บัญชีหรืออุปกรณ์ที่อยู่นอกเหนือจากนิสัยปกติของพวกเขา ตลอดจนความผิดปกติตามมาตรฐานอื่น ๆ เช่น ช่วงเวลาหรือความถี่ในการโอน FICO พบว่าการใช้การรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อระบุการฉ้อโกงให้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจ โดยตรวจพบธุรกรรมการฉ้อโกงเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์”

สร้างสมดุลในการป้องกันการฉ้อโกงอย่างแข็งแกร่งด้วยความสะดวกสบาย

เนื่องด้วยอัตราการรายงานการฉ้อโกงที่ค่อนข้างต่ำ (39%) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศไทย (87%) กล่าวว่าธนาคารของตนดำเนินการเพียงพอที่จะรักษาเงินของพวกเขาให้ปลอดภัย มีเพียง 11 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่คิดว่าธนาคารสามารถทำได้มากกว่านี้ แต่เปอร์เซ็นต์นี้ก็ยังคงเทียบเท่ากับผู้บริโภคมากกว่า 6 ล้านคนที่มีทัศนคติเชิงลบ

ในด้านความสะดวกสบาย ผู้บริโภคครึ่งหนึ่งในประเทศไทยรู้สึกหงุดหงิดใจมากที่สุดจากการแจ้งเตือนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการฉ้อโกงที่ล่าช้าหรือไม่มีเลย หนึ่งในสาม (33%) ไม่ชอบธนาคารที่เปลี่ยนวิธีการที่ใช้ในการยืนยันตัวตนของลูกค้า

คูณ Leo อธิบายว่า “การใช้วิธีชำระเงินแบบดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่เพียงขยายช่องทางให้มีการโจมตีในการฉ้อโกงมากขึ้น แต่ยังทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับประสบการณ์ของลูกค้าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างความต้องการในด้านการจัดการต่อการฉ้อโกงที่เหนือกว่ากับความต้องการในด้านการสื่อสารของลูกค้า การยืนยันตัวตน และการกำหนดการยืนยันตามความพึงพอใจที่สะดวกกว่า”

การรับรู้ด้านความปลอดภัยคือทุกสิ่งทุกอย่าง

ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยกับความพึงพอใจในด้านการใช้งานของผู้คนด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริโภคชาวไทย 41 เปอร์เซ็นต์พึงพอใจที่จะตรวจสอบการชำระเงินด้วยการโทร ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 11 เปอร์เซ็นต์ถึงเกือบสี่เท่า ในทางตรงกันข้าม มีผู้บริโภคชาวไทยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่พึงพอใจที่จะตรวจสอบการชำระเงินผ่านข้อความ เทียบกับกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มเดรยวกัน ส่วนช่องทางอื่น ๆ รวมถึงแอพปลิเคชันธนาคาร แอปส่งข้อความของบุคคลที่สาม และอีเมลนั้นคล้ายคลึงกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มทั่วโลก

ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่าในขณะที่ผู้บริโภคในประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านการใช้บริการธนาคารดิจิทัลและการชำระเงินแบบเรียลไทม์ พวกเขามีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายและมีความพอใจในการใช้งานธนาคาร ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีช่องทางดิจิทัลอื่น ๆ แล้ว

คุณ Leo ยังกล่าวอีกว่า “ผู้คนพัฒนาความรู้สึกไว้วางใจและสบายใจกับวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการกระทำเหล่านั้นปกป้องพวกเขาจากการฉ้อโกง ด้วยเหตุนี้ ลูกค้าจึงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการพัฒนาความมั่นใจในวิธีการรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ แม้ว่าจะดีกว่าเดิมก็ตาม ธนาคารจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น และต้องหาวิธีเพื่อนำเสนอช่องทางใหม่ ๆ ที่น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และสะดวกยิ่งขึ้น”

แบบสำรวจนี้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2021 โดยบริษัทวิจัยอิสระรายหนึ่งและยึดถือตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย จากการสำรวจความคิดเห็นของชาวไทยที่บรรลุนิติภาวะ 1,000 คน และผู้บริโภค 11,028 รายในบราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

เกี่ยวกับ FICO

FICO (NYSE: FICO) ขับเคลื่อนการตัดสินใจต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้คนและธุรกิจทั่วโลกประสบความสำเร็จ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1956 และเป็นผู้บุกเบิกการใช้การวิเคราะห์เชิงทำนายและวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจด้านการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น FICO มีสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ จำนวนกว่า 205 ฉบับ ซึ่งเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มผลกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า และการเติบโตของธุรกิจในด้านบริการทางการเงิน โทรคมนาคม บริการดูแลด้านสุขภาพ การค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ธุรกิจในกว่า 120 ประเทศใช้โซลูชันของ FICO ดำเนินการทุกอย่าง ตั้งแต่ป้องกันการฉ้อโกงบัตรเครดิต/บัตรเดบิต 2.6 พันล้านใบ ช่วยเหลือให้ผู้คนได้รับเครดิตสินเชื่อ ตลอดจนช่วยให้มั่นใจว่าเครื่องบินและรถเช่าหลายล้านคันจะอยู่อย่างถูกที่ถูกเวลา

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.fico.com

เข้าร่วมพูดคุยกันได้ที่ https://twitter.com/fico และ http://www.fico.com/en/blogs/

เพื่อดูข่าวสารและทรัพยากรสื่อของ FICO โปรดไปที่ www.fico.com/news

FICO เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท Fair Isaac Corporation ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ช่องทางการติดต่อ

Neil Mirano
RICE for FICO
+65 3157 5680
neil.mirano@ricecomms.com

Saxon Shirley
FICO
+65 9171 0965
saxonshirley@fico.com

ที่มา: FICO

ข้อมูลเชิงลึกจาก FICO ระบุว่า เกือบ 3 ใน 4 ของคนไทยมีรายได้ลดลงเนื่องจากโรคระบาด หลายคนจะเปลี่ยนไปใช้ธนาคารที่มอบข้อเสนอที่ดีกว่าในปี 2565

Logo

ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนธนาคารในปี 2565 สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง

กรุงเทพมหานคร–(BUSINESS WIRE)–19 กรกฎาคม 2565

FICO (NYSE: FICO)

ประเด็นสำคัญ

  • 70% (เกือบ 3 ใน 4) ของลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทยได้รับผลกระทบเชิงลบด้านรายได้เนื่องจากโรคระบาด
  • ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเงินที่ไม่แน่นอน ลูกค้าธนาคารส่วนใหญ่ในประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ออมทรัพย์ (73%) และการลงทุน (66%)
  • 1 ใน 5 ของลูกค้าธนาคารไทยที่มีกำลังซื้อสูงจะเปลี่ยนไปใช้ธนาคารอื่นที่มอบข้อเสนอด้านการเงินที่ดีที่สุด

รายงานการคาดการณ์ด้านธนาคารสำหรับลูกค้าหลังเกิดโรคระบาดปี 2565 ของ RFI Global ซึ่งจัดทำให้กับ FICO ยืนยันว่าการแพร่ระบาดได้สร้างความลำบากทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้ารายย่อยในประเทศไทย โดยเกือบ 3 ใน 4 ของลูกค้าประสบปัญหารายได้ลดลง นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่า ลูกค้าหลายคนมีแรงจูงใจในการมองหาข้อเสนอด้านการเงินที่ดีกว่า และแนวโน้มการเปลี่ยนสถาบันสำหรับกู้เงินก็เพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.fico.com/en/how-banking-expectations-asia-pacific-are-changing-post-pandemic

ผลกระทบที่สร้างการเปลี่ยนแปลงจากโรคระบาดแตกต่างกันไปทั่วทั้งภูมิภาค

ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวนิวซีแลนด์และออสเตรเลียจำนวน 23-30% ได้รับผลกระทบเชิงลบด้านรายได้อันเนื่องมาจากโรคระบาด แต่ตัวเลขนี้กลับสูงขึ้นเป็น 40% ในสิงคโปร์และอินเดีย 50% ในมาเลเซีย และ 63% ในอินโดนีเซีย ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยได้รับผลกระทบมากที่สุด โดย 70% ระบุว่ารายได้ของพวกเขาลดลง

รายงานเปิดเผยว่าผู้บริโภคมากกว่า 1 ใน 4 ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (27%) ได้ชะลอการผ่อนชำระเงินกู้ โดยผู้บริโภคในบางประเทศมีแนวโน้มที่จะชะลอการผ่อนชำระเงินกู้มากกว่าประเทศอื่น ๆ ขณะที่ลูกค้าธนาคารรายย่อยในประเทศไทยเกือบครึ่งหนึ่ง (47%) และเกือบ 1 ใน 3 (31%) ในอินเดียได้ชะลอการชำระคืนเงินกู้อันเป็นผลจากโรคโควิด-19 เช่นเดียวกันกับ สิงคโปร์ (12%) ออสเตรเลีย (9%) เปอร์เซ็นต์) และนิวซีแลนด์ (7%)

แม้สถานการณ์ทางการเงินจะยังไม่แน่นอน ลูกค้าธนาคารรายย่อยส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีการวางแผนที่จะคงไว้หรือเพิ่มการลงทุน (66%) โดยลูกค้าส่วนใหญ่กำลังมองหาการคงไว้หรือเพิ่มเงินออม (73%) และหลายคนจะพิจารณาเปลี่ยนผู้ให้บริการด้านการเงินในปีนี้

ลูกค้าตั้งใจที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการด้านการเงินมากขึ้น

ที่น่าแปลกคือ รายงานระบุว่าลูกค้าส่วนใหญ่พอใจกับผู้ให้บริการด้านการเงินหลักของตนมาก แต่ลูกค้าธนาคารในเอเชียแปซิฟิกมากถึง 20% ที่ตอบว่ามีแผนจะเปลี่ยนธนาคารในปี 2565 ในทางตรงกันข้าม มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขาได้เปลี่ยนธนาคารในปี 2564

แนวโน้มการเปลี่ยนผู้ให้บริการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นนี้มีอัตราสูงสุดในกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง (หมายถึงตลาดระดับสูงหรือผู้ที่มีสินทรัพย์เพื่อการลงทุนรวมอย่างน้อย 3,000,000 บาท)

ในประเทศไทย ลูกค้าธนาคารรายย่อย 13% และลูกค้ากลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง 8% ได้เปลี่ยนธนาคารในปี 2564 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปีนี้สำหรับกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง โดย 20% กล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยน จำนวนลูกค้าธนาคารรายย่อยมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 10% ซึ่งคิดเป็นลูกค้าธนาคารจำนวน 1 ใน 10 ราย

เหตุผลหลักที่ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกล่าวถึง ได้แก่ สถานการณ์ส่วนบุคคลที่เปลี่ยนแปลง (28%) ความต้องการที่จะรวมบัญชีทั้งหมดกับสถาบันการเงินอื่น (22%) ความต้องการในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการด้านการลงทุนและการบริหารความมั่งคั่งที่ดีขึ้น (20%) และผลตอบแทนที่จะได้รับจากสถาบันการเงินอื่น (20 เปอร์เซ็นต์)

กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบทางการเงิน

ในบรรดาลูกค้าธนาคารที่มีกำลังซื้อสูงในประเทศไทย 63% มีรายได้ลดลงเนื่องจากโรคระบาด ซึ่งน้อยกว่าลูกค้าธนาคารรายย่อยในประเทศไทย 7% ส่งผลให้กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงในประเทศจำนวน 41% ชะลอการผ่อนชำระเงินกู้ ซึ่งต่ำกว่าลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทยทั้งหมด 6%.

การชะงักงันของรายได้นี้ทำให้ชาวไทยที่มีกำลังซื้อสูงจำนวน 37% ตั้งใจที่จะลดการใช้จ่าย เช่นเดียวกับครึ่งหนึ่งของลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทย

กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมมากขึ้นเมื่อเทียบกับตลาดในวงกว้าง (16% และ 8%) ขณะที่ประเทศไทย กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงมีแนวโน้มที่จะกู้ยืมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับลูกค้าธนาคารรายย่อย (11% และ 12% ตามลำดับ)

รายงานยังระบุอีกว่า 78% ของกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงในประเทศไทยเลือกที่จะคงไว้หรือเพิ่มระดับการลงทุนกับธนาคาร ซึ่งสูงกว่าตลาดธนาคารรายย่อยโดยรวมของประเทศ (66%)

ผลกระทบของโรคระบาดต่อการเปลี่ยนผู้ให้บริการธนาคาร

ลูกค้ากำลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการธนาคารเพื่อตอบรับกับผลกระทบด้านการเงินที่เกิดจากโรคระบาด

ลูกค้าธนาคารรายย่อยของไทยประมาณ 3 ใน 4 จะเพิ่มหรือคงเงินออมไว้ (73%) ขณะที่ทั่วทั้งภูมิภาค ความรู้สึกในการคงไว้หรือเพิ่มเงินออมจะสูงที่สุดในนิวซีแลนด์ (94%) และในอินโดนีเซีย (87%)

แม้ว่าแผนกู้ยืมเงินจะลดลงทุกปี แต่ระดับการกู้ยืมสำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อยในเอเชียแปซิฟิกยังคงสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด เนื่องจากผู้บริโภคต้องรับมือกับผลกระทบที่ยืดเยื้อจากการชะงักงันดังกล่าว

Aashish Sharma ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโซลูชันการจัดการการตัดสินใจของ FICO ในเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “โรคระบาดได้สร้างความยากลำบากด้านการเงินให้กับลูกค้าอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะมีรายได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมีการทำสัญญากู้ยืมเงินและการใช้จ่าย ลูกค้าจึงมองหาหนทางที่จะเพิ่มความมั่นคงทางการเงินและเพิ่มเงินออม ธนาคารต้องจับจุดความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างทันท่วงที และปรับเปลี่ยนแนวทางเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลทางการเงิน ในขณะเดียวกันก็สร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีความเหมาะสมกับความสามารถในการจับจ่ายและความต้องการด้านการเงินของลูกค้า”

การมุ่งสู่ดิจิทัล

ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งของประเทศไทย (44%) ยังคงพิจารณาว่า ความใกล้ของระยะทางของสาขาและตู้เอทีเอ็มเป็นปัจจัยหลักสำหรับผู้ให้บริการหลักด้านการธนาคาร อย่างไรก็ตาม รายงานยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้บริการผ่านระบบดิจิทัลด้วย ลูกค้าธนาคารรายย่อยในเอเชียแปซิฟิกมากถึง 72% เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฟินเทคมากกว่าบริการหลักต่าง ๆ ของธนาคาร ซึ่งสูงที่สุดในมาเลเซีย (94%) และต่ำสุดในออสเตรเลีย (39%) ผู้ตอบแบบสอบถามก็เลือกฟินเทคเช่นเดียวกัน เพราะต้องการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ใช้งานง่าย และขั้นตอนการสมัครใช้งานง่ายขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2564 กับ 2562 ลูกค้าในเอเชียแปซิฟิกเริ่มหันมาสนใจช่องทางดิจิทัลมากขึ้นในทุกขั้นตอนตลอดเส้นทางการใช้งาน ได้แก่ การสอบถามและการค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้น (เพิ่มขึ้น 14%) การสอบถามเพื่อติดตามผล (เพิ่มขึ้น 15%) และแอปพลิเคชันธนาคาร (เพิ่มขึ้น 15%)

วิธีที่ธนาคารทำให้เห็นว่าลูกค้าเป็นศูนย์กลางของการดำเนินการและการตัดสินใจ

  • พลิกโฉมการดำเนินงานและการจัดเตรียมข้อมูลผ่านการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ที่ชาญฉลาดมากขึ้นและแพลตฟอร์มการบริหารจัดการจากส่วนกลาง
  • ตัดสินใจที่อิงจากข้อมูลโดยคาดการณ์ วิเคราะห์ และเพิ่มประสิทธิภาพการโต้ตอบกับลูกค้าแบบเรียลไทม์สำหรับแนวทางการจัดการความสัมพันธ์ที่อิงตามเหตุการณ์และตามโปรไฟล์
  • พัฒนาข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำเพื่อโต้ตอบและมอบข้อเสนอที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ลูกค้า
  • สร้างฝาแฝดดิจิทัล (แบบจำลองเสมือนประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับการจำลอง) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และทดสอบแนวทางและกลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมที่มีต้นทุนและความเสี่ยงต่ำ
  • มอบข้อเสนอที่เหมาะกับแต่ละบุคคลและการดำเนินการกับลูกค้าในทิศทางที่ปรับเปลี่ยนได้

Sharma กล่าวว่า “ธนาคารต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าในระดับที่ลึกและละเอียดยิ่งขึ้น ไม่เช่นนั้นก็จะเสี่ยงที่จะเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งและผู้ให้บริการเจ้าอื่น การรักษาความพึงพอใจของลูกค้าเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป ประสบการณ์การดูแลลูกค้าจะต้องได้รับการปรับปรุงอย่างมาก การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางจะเป็นกุญแจสำคัญในการมอบประสบการณ์ที่มีความเป็นส่วนตัวสูงและรักษาลูกค้าไว้อย่างต่อเนื่อง”

ระเบียบวิธีการวิจัย

การสำรวจครั้งนี้ดำเนินการในปี 2564 โดยบริษัทวิจัยอิสระที่ปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย โดยทำการสำรวจผู้ใหญ่จำนวน 1,012 คนในประเทศไทย พร้อมด้วยลูกค้าจำนวน 12,885 คนในมาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และอินเดีย

ศึกษาเพิ่มเติมที่นี่ และ www.fico.com

เกี่ยวกับ FICO

FICO (NYSE: FICO) ขับเคลื่อนการตัดสินใจที่ช่วยให้ผู้คนและธุรกิจทั่วโลกประสบความสำเร็จ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2499 เป็นผู้บุกเบิกการใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน FICO ถือครองสิทธิบัตรเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศมากกว่า 200 รายการ ที่ช่วยเพิ่มผลกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า และการเติบโตของธุรกิจในบริการทางการเงิน การผลิต โทรคมนาคม การดูแลสุขภาพ การค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ด้านการใช้โซลูชันของ FICO ธุรกิจในกว่า 120 ประเทศทำทุกอย่างตั้งแต่ป้องกันอาชญากรรมบัตรชำระเงินจำนวน 2.6 พันล้านใบ เพื่อช่วยให้ผู้คนได้รับเครดิต และเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องบินและรถเช่าหลายล้านลำอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม

ศึกษาเพิ่มเติมที่ www.fico.com

FICO เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Fair Isaac Corporation ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ

ติดต่อ:

Neil Mirano 
RICE for FICO 
+65 3157 5680 
neil.mirano@ricecomms.com 

Saxon Shirley 
FICO 
+65 9171 0965 
saxonshirley@fico.com

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย