Tag Archives: 2021

Hillstone Networks คว้ารางวัลด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับระดับโลกในงาน RSA Conference 2021

Logo

Hillstone Networks คว้ารางวัล Market Leader, Most Innovative และ Cutting Edge Awards จากการมอบรางวัล Annual Global InfoSec Awards ครั้งที่ 9 ในงาน #RSAC 2021

ซานตาคลารา, แคลิฟอร์เนีย–(BUSINESS WIRE)–18 พฤษภาคม 2564

Hillstone Networks ผู้ให้บริการโซลูชันความปลอดภัยบนเครือข่ายสำหรับองค์กรและการจัดการความเสี่ยงชั้นนำ มีความภาคภูมิใจที่จะประกาศให้ทราบว่าเราได้รับรางวัลจากนิตยสารด้านความปลอดภัยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของอุตสาหกรรมอย่าง Cyber Defense Magazine (CDM) ดังนี้:

  • ผู้นำตลาดทางด้านความปลอดภัยศูนย์ข้อมูล (Market Leader in Data Center Security)
  • ไฟร์วอลล์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งยุคหน้า (Most Innovative in Next Generation Firewall)
  • เทคโนโลยี SD-WAN ที่ล้ำสมัย (Cutting Edge in SD-WAN)

“พวกเราตื่นเต้นที่จะได้รับมอบรางวัลซึ่งเป็นหนึ่งในรางวัลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการมากที่สุดของโลกจากนิตยสาร Cyber Defense หลังเหตุการณ์เจาะระบบความปลอดภัยบริษัท Colonial Pipeline ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เห็นได้ว่า หากเป็นเรื่องความปลอดภัย บริษัทขนาดใหญ่ต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่มี เราดีใจที่โซลูชันของเราได้รับการยอมรับจากนิตยสาร Cyber Defense เรารู้ว่าการแข่งขันครั้งนี้ไม่ง่ายและกรรมการตัดสินยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลระดับแถวหน้าซึ่งมาจากทั่วทุกมุมโลก เราคงไม่ขออะไรไปมากกว่านี้แล้ว” Tim Liu, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและผู้ร่วมก่อตั้ง Hillstone Networks กล่าว

“เราพลิกโลกเพื่อหานักนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จะมาสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่และช่วยพลิกสถานการณ์อาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กำลังโตแบบก้าวกระโดดให้ดีขึ้น Hillstone Networks ควรค่าที่จะได้รับรางวัลเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง และควรแค่กับการพิจารณาเพื่อนำไปใช้กับสภาพแวดล้อมในบริษัทของคุณ” Gary S. Miliefsky, ผู้จัดพิมพ์นิตยสาร Cyber Defense กล่าว

เรายินดีเป็นอย่างยิ่งกับการได้เป็นหนึ่งในผู้รับมอบรางวัลซึ่งเป็นที่ปรารถนาของผู้คนมากมาย ซึ่งดูได้ที่นี่: http://www.cyberdefenseawards.com/

โปรดร่วมงานมอบรางวัลออนไลน์ที่จะจัดขึ้นในงานประชุม #RSAC RSA 2021 วันนี้ที่ https://www.rsaconference.com/usa โดยเราจะนำถ้วยรางวัลที่ได้รับมาจัดแสดงทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ บล็อก และสื่อโซเชียลมีเดียของเรา

เกี่ยวกับ Hillstone Networks

โซลูชันเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรและการจัดการความเสี่ยงโดย Hillstone Networks มาพร้อมทัศนวิสัย ความอัจฉริยะ และระบบป้องกันที่จะสร้างความมั่นใจให้องค์กรว่าพวกเขาสามารถมองเห็นอย่างรอบด้าน เข้าใจอย่างลึกซึ้ง และสามารถรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างรวดเร็ว โซลูชันของ Hillstone ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิเคราะห์ชั้นนำและได้รับความไว้วางใจจากองค์กรระดับโลกหลายแห่งสามารถปกป้องอุปกรณ์ทั้งระบบเอดจ์และคลาวด์ขององค์กร พร้อมช่วยลดต้นทุนการเป็นเจ้าของในขณะเดียวกัน เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.hillstonenet.com

เกี่ยวกับ CDM InfoSec Awards

ปีนี้เป็นปีที่ 9 ของนิตยสาร Cyber ​​Defense ในการยกย่องนักสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลระดับโลก ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมอบรางวัลสามารถเป็นได้ทั้งสตาร์ทอัพทั้งที่อยู่ในระยะเริ่มต้นของการทำธุรกิจหรือในระยะหลังหรือบริษัทมหาชนในแวดวงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล หรือ INFOSEC ที่เชื่อว่าคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าในผลิตภัณฑ์และบริการของตนนั้นมีความแตกต่างและน่าสนใจ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.cyberdefenseawards.com

ติดต่อ:

Zeyao Hu
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด
inquiry@hillstonenet.com

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

เอเชียเปิดตัวพอร์ทัลข้อมูลเปิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกในงาน Open Data Day 2021

Logo

ไทเป, ไต้หวัน–(BUSINESS WIRE)–11 มีนาคม 2564

สมาคมคอมพิวเตอร์ไทเป (Taipei Computer Association) ในฐานะสำนักเลขาธิการโครงการความร่วมมือด้านการเปิดเผยข้อมูลแห่งเอเชีย หรือ Asia Open Data Partnership (AODP) ร่วมกับงานประชุมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ข้อมูลซึ่งจัดโดย AODP ในกิจกรรม Open Data Day 2021 ได้ประกาศเปิดตัวพอร์ทัลข้อมูลเปิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกของเอเชีย พอร์ทัลข้อมูลเปิดแห่งเอเชีย จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเข้าถึงข้อมูลแบบเปิดที่เผยแพร่โดยสถาบัน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในประเทศสมาชิกของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการส่งสัญญาณถึงยุคใหม่ของการเข้าถึงข้อมูลอย่างเสรี หรือ democratization ทั่วทั้งเอเชีย

เอกสารประชาสัมพันธ์นี้ประกอบด้วยเนื้อหามัลติมีเดีย ดูอย่างเต็มรูปแบบที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20210310006082/en/

Screenshot from the Asia Open Data Portal launch and data application workshop, organized by Asia Open Data Partnership (AODP) at Open Data Day 2021. (Photo: Business Wire)

ภาพสกรีนช็อตจากการเปิดตัวพอร์ทัลข้อมูลเปิดแห่งเอเชียและการประชุมเชิงปฎิบัติการด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูล จัดโดยโครงการความร่วมมือด้านการเปิดเผยข้อมูลแห่งเอเชีย (AODP) ในกิจกรรม Open Data Day 2021 (รูปภาพ: Business Wire)

พอร์ทัลปัจจุบันประกอบด้วยชุดข้อมูลมากกว่า 73.1 พันชุด จัดเป็น 20 แคตตาล็อก และ 12 หมวดหมู่ ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น มลพิษในเมือง และการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ PPE ข้อมูลถูกจัดเก็บจากประเทศสมาชิก AODP ที่จำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และอินเดีย ส่วนความท้าทายที่โครงการต้องเผชิญคือเรื่องความหลากหลายของภาษาที่ใช้ในเอเชีย และรูปแบบข้อมูลที่ใช้โดยภาครัฐและเอกชนของประเทศสมาชิกที่แตกต่างกัน ซึ่ง AODP กำลังเอาชนะด้วยการใช้เทคโนโลยีการแปลด้วยเครื่องและความพยายามทางการทูตในการกำหนดมาตรฐานข้อมูล

การเปิดตัวพอร์ทัลข้อมูลเปิดแห่งเอเชียและการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลมีการถ่ายทอดสดผ่านทาง ช่อง DataEconomy.Taiwan บน YouTube รวมถึงมีการเสวนาโดยตัวแทน AODP จากประเทศไต้หวัน เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย และกัมพูชา และมีการนำเสนอผลงานพิเศษจากผู้ชนะรางวัล Invincible Award จากการประกวด Asia Open Data Challenge ในปีก่อนหน้าสามทีม โดยอันดับแรก สมาชิกจากทีม GliaCloud (ไต้หวัน) ได้แนะนำแพลตฟอร์มสร้างวิดีโอโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เรียกว่า GliaStar ซึ่งนำเสนอข้อมูลแบบเปิดเป็นภาพเคลื่อนไหวโดยใช้ตัวละครจากการ์ตูน ถัดมา สมาชิกทีม Smart Delivery (ญี่ปุ่น) ได้นำเสนอนวัตกรรมทางด้านลอจิสติกส์ โดยนำข้อมูลเปิดมาใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจและช่วยให้พนักงานส่งอาหารและยาให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทของประเทศญี่ปุ่น สุดท้าย สมาชิกทีม Dbdbdeep (เกาหลีใต้) ได้อธิบายเกี่ยวกับ “แบบจำลองเหตุวุ่นวายทางสังคมในระดับภูมิภาค” ซึ่งใช้ข้อมูลเปิดมาตรวจหาผลกระทบจากโรคติดเชื้อต่อสังคม

โครงการความร่วมมือด้านการเปิดเผยข้อมูลแห่งเอเชีย หรือ AODP ก่อตั้งขึ้นในปี 2558 โดยมีเป้าหมายหลักในการอำนวยความสะดวกทางด้านการสื่อสารและความร่วมมือเกี่ยวกับข้อมูลเปิดและการประยุกต์ใช้ข้อมูลระหว่างประเทศในเอเชีย พอร์ทัลข้อมูลเปิดแห่งเอเชียริเริ่มขึ้นโดย Organization for Data-driven Application (ไต้หวัน) ในปี 2560 โดยใช้พอร์ทัลข้อมูลเปิดของสหภาพยุโรปเป็นต้นแบบ และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการโดยประเทศสมาชิก AODP ในปี 2562 เป้าหมายของโครงการความร่วมมือคือการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของเอเชียในทุกภาคส่วนรวมถึงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่อย่างเช่น AI และ IoT

ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.comhttps://www.businesswire.com/news/home/20210310006082/en/

สื่อ: Daniel Cunningham, daniel.cunningham@ddg.com.tw +886 223117007

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) เผยแพร่ รายงานการค้าในเอเชียแปซิฟิกปี 2021 ในประเด็นผลกระทบจากข้อตกลง RCEP ต่อประเทศไทย และการฟื้นตัวจาก COVID-19

Logo

ประเทศไทย–(BUSINESS WIRE)–1 กุมภาพันธ์ 2021

ตามรายงานการค้าในเอเชียแปซิฟิกปี 2021 ของไตรคอร์กรุ๊ป (Tricor Group) กล่าวว่า เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศอื่น ๆ จะเห็นได้ว่า ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (the Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement: RCEP) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับประเทศอื่น ๆ จำนวน 14 ประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2020 และคาดการณ์ว่าจะเริ่มดำเนินการตามข้อตกลงในปี 2021 มีความซับซ้อน และได้วางกรอบสำคัญสำหรับมาตรฐานขั้นพื้นฐานในการค้าของประเทศในเอเชียซึ่งสูงกว่าและกว้างกว่าข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้โดยองค์การการค้าโลก (the World Trade Organization: WTO)

รายงานที่เผยแพร่ในวันนี้ต่อสื่อต่างๆ และผู้นำทางธุรกิจ โดยอาศัยข้อมูลอุตสาหกรรมจากศูนย์วิจัยและสื่อที่หลากหลายเพื่อเสนอมุมมองข้อมูลเชิงลึก ข้อสังเกต และการคาดการณ์ที่รวบรวมโดยผู้บริหารระดับสูงของไตรคอร์เกี่ยวกับแนวโน้มการค้าโลกที่จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการค้าและการลงทุนของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก หรือ APAC ในปีหน้า

รายงานการค้าในเอเชียแปซิฟิกของไตรคอร์กรุ๊ปปี 2021 ได้มุ่งเน้นไปที่วิธีการดำเนินการตามหลักสำคัญของ RCEP ในปี 2021 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเปิดกว้างของตลาดการค้าและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19  ภายในรายงานดังกล่าวไตรคอร์ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดของ RCEP และนำเสนอสรุปขั้นตอนสำคัญที่บริษัทต่างๆ สามารถดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมและใช้ข้อตกลงดังกล่าวให้เกิดประโยชน์และสร้างศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจ  นอกจากนี้รายงานฉบับนี้มีคําแนะนําในการทําธุรกิจในประเทศไทยและตลาดสำคัญอื่นๆ ใน RCEP อันได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศเวียดนาม (ซึ่งไตรคอร์มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศเหล่านี้เช่นกัน)

ภายใต้ข้อตกลง RCEP ผู้ประกอบธุรกิจและนักลงทุนในประเทศไทยคาดหวังโอกาสทางการค้าที่จะเพิ่มขึ้นทั่วอาเซียนและภูมิภาค APAC เนื่องจากสินค้าจำนวนมากมีสิทธิได้รับการลดภาษีระหว่างประเทศมากขึ้น ความโปร่งใสด้านกฎระเบียบ การยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับพิธีการทางศุลกากร

คุณดีแลนด์ หม่า (Mr. Dyland Mah) กรรมการผู้จัดการ บริษัทไตรคอร์ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “RCEP ได้รวมประเทศต่างๆ ที่มีทัศนคติและมุมมองที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน  การร่วมมือในระดับพหุภาคีและการเข้าสู่ตลาดในระดับที่ใหญ่ขึ้น ประเทศต่างๆ ใน RCEP สามารถสร้างความยืดหยุ่นและความร่วมมือกันในภูมิภาคได้มากขึ้น  แต่เนื่องจากขนาดและความหลากหลายของ RCEP การปฎิบัติตามข้อตกลงอาจส่งผลให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนสำหรับบางธุรกิจ ดังนั้นในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายธุรกิจของประเทศไทย เรา (ไตรคอร์) หวังว่าจะได้มีโอการร่วมงานกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น และก้าวนำอยู่เหนือธุรกิจอื่น ”

คุณเลนนาร์ด ย้ง (Mr. Lennard Yong) ประธานกรรมการบริหารของไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการก่อตั้งของกลุ่มการค้า RCEP เป็นการพัฒนาการค้าในระดับโลกที่สำคัญซึ่งอาจเปลี่ยนเส้นทางหรือแนวทางการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment (FDI)) ในระยะเวลาข้างหน้านี้  สำหรับไตรคอร์ เราคำนึงและตระหนักว่าข้อตกลงการค้านี้ อาจเปลี่ยนแปลงแนวทางการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ไปสู่แนวทางใหม่ ๆ ในธุรกิจระหว่างประเทศ สำหรับรายงานการค้าในเอเชียแปซิฟิกปี 2021 ของไตรคอร์กรุ๊ปนี้ ได้ให้แนวทางสำคัญกับองค์กรชั้นนำระดับโลกและระดับประเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างประโยชน์จากโอกาสที่จะเกิดขึ้นจาก RCEP   ความเชี่ยวชาญนี้ได้ชี้ชัดถึงความเป็นผู้นำของเราในภูมิภาคนี้ในฐานะพันธมิตรขององค์กรที่ต้องการขยายธุรกิจไปทั่วเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ”

คุณแกรี่ ต็อก (Mr. Gary Tok) ประธานกรรมการด้านพาณิชย์ธุรกิจ ไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “การลงนามในข้อตกลง RCEP เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมากสำหรับธุรกิจและนักลงทุนในเอเชียแปซิฟิกและรวมไปถึงระดับที่กว้างไกลกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องฝ่าฟันความตึงเครียดจากการระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นกับห่วงโซ่อุปทานของโลก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไตรคอร์ได้มีส่วนช่วยเหลือหลายธุรกิจซึ่งต้องเผชิญกับคลื่นของภัยร้ายจากโรคระบาดที่ไม่อาจคาดคิด ตลอดจนได้มีเตรียมการสำหรับสิ่งซึ่งไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต  และสำหรับข้อตกลงทางการค้าที่สำคัญนี้ เรารอที่จะได้ร่วมงานกับธุรกิต่างๆ ทั่วโลก ในการช่วยทบทวนและปรับรูปแบบธุรกิจเพื่อทำให้ธุรกิจเหล่านั้นได้รับประโยชน์จากเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานและความร่วมมือระดับพหุภาคีที่จะได้รับจาก RCEP”

คุณซันไชน์ ฟาซาน (Ms. Sunshine Farzan) หัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ไตรคอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “ในปี 2020 ข่าวสำคัญทั่วโลกเรื่องหนึ่งก็คือ การระบาดของ COVID-19  ซึ่งเรามีความกังวลใจว่าปัญหาการระบาดจะทำให้เกิดการหยุดชะงักของเศรษฐกิจทั่วโลก  ในรายงานการค้าในระดับเอเชียแปซิฟิกปี 2021 ของไตรคอร์กรุ๊ป ซึ่งรวบรวมจากข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณแสดงให้เห็นว่า แม้จะมีอุปสรรคและความไม่แน่นอนในอนาคตอยู่มาก ก็ยังคงมีโอกาสใหม่ ๆ ที่ยิ่งใหญ่สำหรับธุรกิจทั่วโลกในปี 2021 อาทิเช่น ประโยชน์มหาศาลที่จะได้รับจากข้อตกลง RCEP   ด้วยการรวมมุมมองและข้อคิดเห็นในการก้าวไปในอนาคต รายงานนี้จะช่วยธุรกิจและผู้ลงทุนให้ก้าวนำและอยู่เหนือความเปลี่ยนแปลงในทุกวันนี้ ”

ขอบคุณ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

HONG KONG SAR (GROUP OFFICE)

Sunshine Farzan

Tricor Services Limited

Group Head of Marketing & Communications

Tel: +852 2980 1261

Email: Sunshine.Farzan@hk.tricorglobal.com

เกี่ยวกับ บริษัท ไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทไตรคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี 2005 และมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งบริการของเราครอบคลุมทั้งบริการจัดทำบัญชีและภาษีอากรให้กับบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก, บริการด้านเลขานุการและการจัดการทั่วไปสำหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริการด้านการจัดทำเงินเดือน  หากท่านต้องการที่จะจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย พนักงานผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมที่จะให้คำแนะนำในการเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ในระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น โครงสร้างพื้นฐานชั้นแนวหน้า ทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ

ไตรคอร์กรุ๊ป (“ไตรคอร์”) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านขยายธุรกิจระดับชั้นนำของเอเชีย ซึ่งมีองค์ความรู้ระดับโลก และมีสำนักงานซึ่งให้บริการทางธุรกิจ บริการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท บริการให้คำแนะนำแก่นักลงทุน บริการทรัพยากรบุคคลและเงินเดือน บริการทรัสต์สำหรับองค์กร (Corporate trust & debt services) และบริการให้คำปรึกษาทางด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจ   ไตรคอร์มีสำนักงานใหญ่ประจำที่ฮ่องกง เราให้บริการมากกว่า 21 ประเทศ/เขตการปกครอง มีเครือข่ายสำนักงานใน 47 เมือง เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในความดูแลมากกว่า 50,000 รายทั่วโลก  โดยจำนวนลูกค้าดังกล่าว กว่า 2,000 บริษัทเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในเอเชีย และมากกว่า 40 % เป็นบริษัทที่อยู่ในรายชื่อบริษัทชั้นนำ 500 แห่งทั่วโลกจากการรวบรวมและจัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune  นอกจากนี้ไตรคอร์มีพนักงานกว่า 2,700 คน ซึ่งเป็นพนักงานที่มีใบรับรองทางวิชาชีพถึง 630 คน โดยเราพร้อมให้บริการที่สำคัญเพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีความมุ่งมั่นในการเติบโตทั้งในระดับเอเชียและระดับต่อไป

จุดแข็งของไตรคอร์ประกอบขึ้นจากประสบการณ์เชิงลึกในทุกๆ อุตสาหกรรม พนักงานที่มุ่งมั่น การดำเนินการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การปฏิบัติการตามมาตรฐาน การให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎระเบียบ และการติดต่อสื่อสารกับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย  ไตรคอร์มีความสามารถเฉพาะเพื่อปลดล็อกศักยภาพของธุรกิจของท่าน และช่วยให้ท่านก้าวไปข้างหน้าในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและหลากหลายในปัจจุบัน

 โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา: www.tricorglobal.com/locations/thailand

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย