โตเกียว–(บิสิเนสไวร์)–16 ต.ค. 2563
ในรายงานที่มีชื่อว่า ห่วงโซมูลค่าระดับโลกที่ทนทาน (GVCs) สำหรับอาเซียนและความสัมพันธ์กับประเทศคู่ค้า ที่เผยแพร่โดยศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJC) ทาง AJC เสนอให้แต่ละประเทศและบริษัทในอาเซียนที่มีส่วนร่วมในเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศตรวจสอบช่องโหว่ของห่วงโซ่คุณค่าต่อความเสี่ยงภายนอกในอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยอ้างอิงถึงการคำนวณความเสี่ยงของ AJC
ข่าวประชาสัมพันธ์นี้ประกอบด้วยมัลติมีเดีย อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20201015006128/en/
รายงาน "Resilient Global Value Chains for ASEAN and its Relationship with Partner Countries" มีให้ดาวน์โหลดบนเว็บไซต์ AJC (กราฟฟิค: บิสิเนสไวร์)
ได้มีการเรียกร้องหลายครั้งในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาคให้มีการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่นับตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 แม้ว่าจะเป็นธรรมชาติของระบบการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ ห่วงโซ่อุปทานหรือการจัดจำหน่ายที่กระจุกตัวอยู่ในบริษัทไม่กี่แห่งและไม่กี่ประเทศทำให้บริษัทต่างๆ มักจะมีข้อกังวลว่าจะยังคงได้รับวัสดุและปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อไปหรือไม่ คำถามต่อไปคือห่วงโซ่คุณค่ากระจุกตัวที่ใดและในขั้นตอนใด
ในการตอบคำถามนี้ AJC ได้คำนวณระดับความเสี่ยงของห่วงโซ่คุณค่าต่อปัจจัยภายนอกและได้ระบุอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบ ความเสี่ยงนั้นมีสองประเภท ได้แก่ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อส่วนต้นน้ำของ GVC (การกระจุกตัวของตลาดซัพพลายเออร์) และความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อส่วนปลายน้ำของ GVC (การกระจุกตัวของตลาดผู้ซื้อ)
เมื่อพิจารณาถึงการกระจุกตัวของคู่ค้าในตลาดซัพพลายเออร์ จีนเป็นซัพพลายเออร์ที่สำคัญที่สุดสำหรับหลายอุตสาหกรรมในอาเซียน ประเทศจีนครองส่วนแบ่งการตลาดที่สร้างอำนาจทางการตลาดมากพอที่จะก่อให้เกิดความกังวลในการแข่งขันใน 129 ใน 222 อุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยญี่ปุ่นครอง 38 อุตสาหกรรม สำหรับการกระจุกตัวของตลาดผู้ซื้อ ประเทศจีนไม่ได้เป็นผู้ซื้อหลักในหลายอุตสาหกรรม (มีเพียง 11 อุตสาหกรรมที่การกระจุกตัว) โดยญี่ปุ่นครอง 24 อุตสาหกรรม
นอกจากนี้ AJC ได้เสนอ 5 กลยุทธ์เพื่อสร้าง GVC ที่แข็งแกร่งในอาเซียน ซึ่งได้แก่
- การใช้นโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคที่กำลังดำเนินการโดยประเทศสมาชิกอาเซียน
- การปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงโดยภาคเอกชน
- การผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลโดยทั้งภาครัฐและเอกชนอุตสาหกรรม
- การส่งเสริมอุตสาหรรมใหม่และที่ทนต่อวิกฤต
- พิจารณากลยุทธ์ของบริษัทสำหรับการผลิตระหว่างประเทศ: การผลิตในหรือนอกประเทศ
ในการจัดการกับ COVID-19 และวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้กำหนดนโยบายที่จะงดใช้แนวทางแก้ปัญหาทางลัดและลัทธิการคุ้มครองทางการค้า และรักษาบรรยากาศทางธุรกิจที่ดี
สามารถดาวน์โหลดสิ่งพิมพ์ได้บนเว็บไซต์ AJC: https://www.asean.or.jp/en/centre-wide/resilient_gvcs/
อ่านต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20201015006128/en/
ติดต่อ:
Tomoko Miyauchi
Office of Secretary General, PR (เลขาธิการฝ่ายประชาสัมพันธ์)
ASEAN-Japan Center
URL: https://www.asean.or.jp/en/
E-mail: toiawase_ga@asean.or.jp
เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย