NielsenIQ เปิดตัวรายงานใหม่ที่มุ่งเน้นผลกระทบด้านความยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค

Logo

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้บริษัทต่าง จะต้องริเริ่มความคิดในการสร้างโมเดลธุรกิจ และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในอีกห้าปีข้างหน้า

CHICAGO–(BUSINESS WIRE)–30 พฤศจิกายน 2022

วันนี้ NielsenIQ มีการเปิดตัวรายงานใหม่ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อความยั่งยืน ” ที่มุ่งเน้นผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่ออุตสาหกรรมสินค้าบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค ในอีกห้าปีข้างหน้า มีการคาดการณ์ว่า การกำกับดูแลและต้นทุนจะกำหนดให้ผู้ผลิต แบรนด์ และผู้ค้าปลีกจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและมุ่งมั่นที่จะสร้างโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน และลดความเสี่ยงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

“เราได้มุ่งเน้นความยั่งยืนในวาระขององค์กรมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเป็นลำดับที่มีความสำคัญ ซึ่งธุรกิจบางแห่งอาจตัดสินใจดำเนินการเชิงรุกเพื่อความก้าวหน้า และบางธุรกิจอาจยังคงเฝ้ารอดูผลก่อนตัดสินใจ” Regan Leggett, Foresight Leader, NielsenIQ กล่าว “ต้นทุนพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมาก บวกกับความล้มเหลวของการเพาะปลูก และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้บริษัทต่าง ๆ จำต้องสร้างโมเดลธุรกิจเพื่ออนาคต มิฉะนั้น อาจมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนและผลกระทบด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้”

ท่ามกลางความท้าทายในห่วงโซ่อุปทาน แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ และการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังของผู้บริโภค มีรายงานระบุว่า ผู้บริโภคได้รับข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับความยั่งยืนและความคาดหวังในการดำเนินการและความรับผิดชอบขององค์กร รายงานฉบับใหม่มีการกล่าวถึงประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1. ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมีผลในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่ เนื่องด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร
  2. ธรรมาภิบาลและกฎระเบียบใหม่มีผลต่อการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนอย่างไร
  3. พื้นฐานใหม่ในการตัดสินใจเปลี่ยนไปสำหรับผู้บริโภคอย่างไร
  4. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีบทบาทอย่างไรในการผลักดันวาระด้านความยั่งยืนให้ก้าวหน้า ผู้บริโภคมีความเชื่อถือในผู้ใด และวิธีการที่บริษัทสามารถช่วยให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกด้านความยั่งยืนมากขึ้นอย่างไร
  5. อนาคตของความยั่งยืนสำหรับผู้ค้าปลีก แบรนด์ ผู้บริโภค และรัฐบาลเป็นอย่างไร
  6. บริษัทจะต้องมีการดำเนินการอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในอนาคตและคำมั่นจากทางรัฐบาล

“ผู้บริโภคต้องการความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตและบริโภคอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกองค์กรที่จะมีแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน” Nicole Corbett รองประธานจาก Thought Leadership ของ NielsenIQ กล่าว “ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผู้บริโภคมักมองหาการปฏิบัติที่ไม่มุ่งเน้นวัตถุ และการไม่ยึดติดแบรนด์และผู้ค้าปลีก ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถไว้วางใจได้ในทุกระดับ”

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อยู่ในขั้นวิกฤต และอาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในอีกห้าปีข้างหน้า เมื่อบริษัทต่าง ๆ มีการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการ แนวทาง และการดำเนินธุรกิจต่าง  ๆ การดำเนินธุรกิจเชิงรุกจะช่วยให้บริษัทได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่น ๆ มีการแย่งชิงกันเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและคงความยั่งยืน

สำหรับข้อมูลรายงานเชิงลึกล่าสุด สามารถเข้าดูได้ที่: https://nielseniq.com/global/en/insights/analysis/2022/the-changing-climate-of-sustainability-has-reached-a-critical-moment/

เกี่ยวกับ NielsenIQ

NielsenIQ เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านข้อมูลระดับโลก โดยมีการนำเสนอมาตรฐานสูงในการวัดดัชนีผู้บริโภคและค้าปลีกด้วยประสบการณ์ที่มีความเข้าใจธุรกิจเป็นอย่างดี และสามารถเชื่อมโยง นำไปปฎิบัติได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดสำหรับผู้บริโภคที่ผ่านการพัฒนาในทุกช่องทางทั่วโลก NielsenIQ เป็นแหล่งข้อมูลที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เราให้บริการ และเป็นผู้บุกเบิกดัชนีชี้วัดผู้บริโภคและค้าปลีกในศตวรรษหน้า ข้อมูลเชิงลึกของเรา และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ CPG และบริษัทค้าปลีกให้สามารถเข้าถึงชุมชนที่ให้บริการ และช่วยส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจด้วยเช่นกัน

NielsenIQ เป็นบริษัทในเครือของ Advent International โดยมีสำนักงานอยู่ในกว่า 90 ประเทศ โดยครอบคลุมมากกว่า 90% ของประชากรโลก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ NielsenIQ.com

ติดต่อ

เอเชียแปซิฟิก: Tarini Mathur Kaul (tarini.mathurkaul@nielseniq.com)
ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา: Sebastien Monard (sebastien.monard@nielseniq.com)
อเมริกาใต้: Ari Rodriguez (ari.rodriguez@nielseniq.com)
อเมริกาเหนือ: Gillian Mosher (gillian.mosher@nielseniq.com)

แหล่งข้อมูล: NielsenIQ

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย