Category Archives: Featured

NuScale Power สร้างประวัติศาสตร์ในฐานะเครื่องปฏิกรณ์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็กเครื่องแรกที่ได้รับการอนุมัติการออกแบบจากคณะกรรมการกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา

Logo

ถือเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญด้านกฎระเบียบ เนื่องจาก NuScale พร้อมแล้วที่จะนำเทคโนโลยี SMR ออกสู่ตลาดในทศวรรษนี้

พอร์ตแลนด์, โอเรกอน–(BUSINESS WIRE)–29 ส.ค. 2563

NuScale Power ประกาศในวันนี้ว่าคณะกรรมการกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ หรือ the U.S. Nuclear Regulatory Commission  (NRC) ได้ตรวจสอบระยะที่ 6 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายและขั้นสุดท้ายของแอปพลิเคชันการรับรองการออกแบบ หรือ the Design Certification Application (DCA)  เป็นที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วสำหรับเครื่องปฏิกรณ์แบบแยกส่วนขนาดเล็ก หรือ small modular reactor (SMR) ที่ก้าวล้ำของบริษัท โดยมีการรายงานการประเมินความปลอดภัยขั้นสุดท้าย  หรือ Final Safety Evaluation Report (FSER) ให้ด้วย โดย FSER แสดงให้เห็นถึงการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ของการตรวจสอบทางเทคนิคและการอนุมัติการออกแบบ NuScale SMR ซึ่งเมื่อขั้นตอนสุดท้ายของ DCA ของ NuScale เสร็จสมบูรณ์แล้ว ลูกค้าก็จะสามารถดำเนินการตามแผนการพัฒนาโรงไฟฟ้า NuScale ได้ด้วยความสบายใจว่า NRC ได้อนุมัติด้านความปลอดภัยของการออกแบบของ NuScale เรียบร้อยแล้ว

ข่าวประชาสัมพันธ์นี้เป็นแบบมัลติมีเดีย ดูฉบับเต็มได้ที่นี่:https://www.businesswire.com/news/home/20200828005299/en/

An artist’s rendering of NuScale Power’s small modular nuclear reactor plant. Photo courtesy of NuScale

ศิลปินวาดภาพจำลองโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบแยกส่วนขนาดเล็กของ NuScale Power  ภาพ ได้รับความอนุเคราะห์จาก NuScale

“นี่ไม่ใช่แค่เพียงก้าวที่สำคัญสำหรับ NuScale เท่านั้น แต่ยังเป็นก้าวที่สำคัญของภาคนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ทั้งหมดและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ขั้นสูงอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกด้วย ความสำเร็จครั้งนี้เป็นการวางพื้นฐานความเป็นผู้นำของ NuScale และสหรัฐอเมริกาอย่างชัดเจนในการแข่งขันเพื่อนำ SMR ออกสู่ตลาด การได้รับอนุมัติด้านการออกแบบของ NuScale ถือเป็นความสำเร็จที่น่าเหลือเชื่อ และเราขอขอบคุณ NRC อย่างลึกซึ้งที่สุดสำหรับการตรวจสอบอย่างละเอียดและขอขอบคุณกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา หรือ the U.S. Department of Energy (DOE) สำหรับความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนของเราที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำ SMR เครื่องแรกของประเทศออกสู่ตลาด และเรายังขอขอบคุณบุคคลอื่น ๆ อีกมากมายที่ทุ่มเทเวลานับไม่ถ้วนเพื่อทำให้ช่วงเวลาพิเศษนี้เกิดขึ้นจริง” John Hopkins ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ NuScale กล่าว “นอกจากนี้การระดมทุนแบบแบ่งค่าใช้จ่ายโดยสภาคองเกรสในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังได้ช่วยเร่งความก้าวหน้าของ NuScale ผ่านกระบวนการรับรองการออกแบบของ NRC สิ่งนี้คือสาเหตุที่โครงการ SMR ของกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาถูกสร้างขึ้นมา และความสำเร็จของเราก็ยังเกิดขึ้นมาจากการได้รับการสนับสนุนจากสภาคองเกรสที่แข็งแกร่ง "

DCA ของ NuScale เสร็จสมบูรณ์ในเดือนธันวาคม 2559 และได้รับการยอมรับจาก คณะกรรมการกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ หรือ  NRC ในเดือนมีนาคม 2017 กระบวนการตรวจสอบแสดงให้เห็นถึงทั้งความเรียบง่ายของการออกแบบ SMR ของ NuScale และความละเอียดถี่ถ้วนของแอปพลิเคชันของบริษัท ตัวอย่างเช่น ในระหว่างกระบวนการตรวจสอบขั้นตอนที่ 1 อย่างเข้มงวด ซึ่งรวมถึง 115,000 ชั่วโมงที่ใช้ในการตรวจสอบ DCA ทาง NRC ได้ออกคำขอข้อมูลเพิ่มเติมเป็นจำนวนน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับแอปพลิเคชันการรับรองของการออกแบบอื่น ๆ NuScale ใช้เงินไปกว่า 500 ล้านดอลลาร์โดยได้รับการสนับสนุนจาก Fluor และใช้ชั่วโมงแรงงานกว่า 2 ล้านชั่วโมงเพื่อพัฒนาข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมแอปพลิเคชัน DCA นอกจากนี้ บริษัทยังได้ส่งรายงานเฉพาะ Topical Reports อีก 14 ฉบับแยกต่างหาก นอกเหนือไปจากรายงานอีกหนึ่งฉบับว่าด้วยแอปพลิเคชัน DCA อีกกว่า 12,000 หน้า พร้อม ๆ กับให้ข้อมูลสนับสนุนมากกว่า 2 ล้านหน้าสำหรับการตรวจสอบ NRC

“NRC ยอมรับความท้าทายในการตรวจสอบ เครื่องปฏิกรณ์  DCA แบบแยกส่วนขนาดเล็กเป็นเครื่องแรก ซึ่งในเวลานั้นไม่เพียงแต่ถือเป็นก้าวสำคัญของ NuScale เท่านั้น แต่ยังเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์โดยรวมด้วย NuScale ขอชื่นชมความทุ่มเท เวลา และความพยายามของ NRC ตลอดกระบวนการหลายปีนี้ ซึ่งมักจะมีการตรวจสอบเสร็จก่อนกำหนดเวลาเสมอ ในฐานะที่ผมเคยเป็นพนักงานของ NRC มาเป็นเวลานาน ซึ่งรวมถึงในฐานะผู้บริหารใน Office of New Reactors ผมสามารถพูดได้ว่าการออก FSER ในช่วงแรกนี้ต้องให้เครดิตสำหรับทุกคนใน NRC อย่างแท้จริง ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่การตรวจสอบทางเทคนิคและเจ้าหน้าที่โครงการ ฝ่ายการจัดการ และคณะกรรมการ Tom Bergman รองประธานฝ่ายกำกับดูแลของ NuScale กล่าว

NuScale ยังคงรักษาโมเมนตัมโครงการที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในการนำเทคโนโลยี SMR ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน มาตรฐานการออกแบบโรงงาน การวางแผนกิจกรรม การส่งมอบ และแผนการด้านสตาร์ทอัพและการว่าจ้าง บริษัทได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากลูกค้าในประเทศและจากต่างประเทศจากที่มองว่าโรงไฟฟ้า NuScale เป็นโซลูชันระยะยาวสำหรับการจัดหาพลังงานคาร์บอนที่เชื่อถือได้ ปลอดภัย ราคาไม่แพงและมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งนี้ NuScale ได้ลงนามในข้อตกลงกับหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา แคนาดา โรมาเนีย สาธารณรัฐเช็ก และจอร์แดน และกำลังมีการเจรจาข้อตกลงที่คล้ายกันกับหน่วยงานอื่น ๆ เพิ่มเติม

เกี่ยวกับ NuScale Power

NuScale Power ได้พัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเบาแบบแยกส่วนเพื่อจัดหาพลังงานสำหรับการผลิตไฟฟ้า การทำความร้อนแบบรวมศูนย์ การกรองน้ำทะเล และการใช้ความร้อนในกระบวนการอื่น ๆ ทั้งนี้การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบแยกส่วนขนาดเล็ก (SMR) ที่ก้าวล้ำนี้จะใช้คุณลักษณะ NuScale Power Module™ ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากโรงงานโดยสมบูรณ์ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 60 เมกะวัตต์โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์แบบแรงดันน้ำที่ปลอดภัยกว่า ขนาดเล็กกว่า และปรับขนาดได้ การออกแบบที่ปรับขนาดได้ของ NuScale ทำให้โรงไฟฟ้าสามารถรองรับโมดูลไฟฟ้าได้ถึง 12 โมดูล ช่วยให้พลังงานที่ปราศจากคาร์บอนและลดภาระผูกพันทางการเงินที่มากับโรงงานนิวเคลียร์ขนาดกิกะวัตต์ ผู้ลงทุนหลักใน NuScale ได้แก่ Fluor Corporation ซึ่งเป็นบริษัทด้านวิศวกรรมการจัดหาและการก่อสร้างระดับโลกที่มีประวัติ 60 ปีในด้านพลังงานนิวเคลียร์เชิงพาณิชย์

NuScale มีสำนักงานใหญ่ในพอร์ตแลนด์ โอเรกอน และมีสำนักงานใน Corvallis,โอเรกอน; ร็อควิลล์, แมรีแลนด์; ชาร์ล็อต นอร์ธ คาโรไลนา; ริชแลนด์วอชิงตัน; และลอนดอน สหราชอาณาจักร ติดตามเราได้ที่ Twitter: @NuScale_Power, Facebook: NuScale Power, LLC, LinkedIn: NuScale-Power, and Instagram: nuscale_power. NuScale มีโลโก้แบรนด์และ เว็บไซต์ ใหม่ คลิกเพื่อดู วิดีโอ สั้น ๆ

ดูเวอร์ชันต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20200828005299/en/

ติดต่อสำหรับสื่อ:

Diane Hughes, รองประธานฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร

dhughes@nuscalepower.com

(C) 503-270-9329





DCG ตั้ง Foundry เป็นบริษัทย่อยใหม่ล่าสุดเพื่อขยายสู่อุตสาหกรรมขุดบิตคอยน์

Logo

บริษัทย่อยแห่งนี้จะเป็นผู้จัดหาทุนและให้บริการคำปรึกษาเพื่อเพิ่มอำนาจในระบบนิเวศของการขุดสินทรัพย์ดิจิทัล 
DCG ตั้งเป้าลงทุนใน Foundry เป็นมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ตลอดปี 2564

นิวยอร์ก–(BUSINESS WIRE)–27 สิงหาคม 2563

Digital Currency Group (DCG) องค์กรระดับโลกผู้พัฒนา ซื้อ และลงทุนในบริษัทบล็อกเชน ประกาศถึงการก่อตั้งบริษัทในเครือใหม่ล่าสุดชื่อ Foundry หลังก่อตั้งขึ้นในปี 2562 Foundry เป็นผู้ให้บริการด้านความเชี่ยวชาญสำหรับสถาบัน ทุน และการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดให้กับนักขุดสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ผลิตต่าง ๆ โดยจัดหาแหล่งทรัพยากรสำหรับสร้าง รักษา และทำให้เครือข่ายที่มีไม่ศูนย์กลาง (decentralized network) ปลอดภัย ขณะนั้น Mike Colyer อดีตผู้บริหารแห่ง Core Scientific ถูกเลือกให้เป็นตัวเต็งที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของ Foundry

Foundry ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสถาบันด้านการเข้าถึงทุน ประสิทธิภาพของตลาด รวมถึงความโปร่งใสในอุตสาหกรรมการขุดบิตคอยน์ ปัจจุบัน บริษัทมีบริการต่าง ๆ อยู่สามด้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ สินเชื่อที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักค้ำประกันและบริการจัดหา บริการขุดและการตรวจสอบธุรกรรมแบบวางเงินค้ำประกัน (staking) และบริการที่ปรึกษา

นับตั้งแต่ก่อตั้ง Foundry ทะยานสู่การเป็นหนึ่งในบริษัทขุดบิตคอยน์รายใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ และได้เพิ่มวงเงินสินเชื่อที่ใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นหลายสิบล้านดอลลาร์ให้กับองค์กรด้านการขุดบิตคอยน์และได้ช่วยจัดหาอุปกรณ์ขุดบิตคอยน์ราวครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดที่มีการส่งมอบในอเมริกาเหนือปีนี้

“เราต้องการติดอาวุธให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีศูนย์กลางในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลรูปแบบใหม่นี้ และงานของเราจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตของการขุดบิตคอยน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาเหนือ” Mike Colyer ซีอีโอของ Foundry กล่าว “พวกเราคือธุรกิจที่สร้างขึ้นโดยนักขุดเพื่อนักขุดเอง และพวกเราเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการที่มีพันธกิจเดียวกันกับเราในการทำให้อุตสาหกรรมนี้ก้าวหน้า และสร้างระบบนิเวศการขุดบิตคอยน์แบบไม่มีศูนย์กลางให้เกิดขึ้น”

DCG มีเป้าหมายที่จะลงทุนใน Foundry เป็นเม็ดเงินมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดปี 2564 นี้ และเป็นครั้งแรกที่นักขุดและผู้ผลิตจะได้เข้าถึงพันธมิตรที่มีความน่าเชื่อถือและแหล่งทุนผ่านทางเครือข่ายอันทรงพลังของ DCG

“ที่ DCG เป้าหมายของเราคือการเร่งการพัฒนาระบบการเงินที่ดีกว่าให้เกิดขึ้นเร็วขึ้น” Barry Silbert ผู้ก่อตั้งและซีอีโอแห่ง DCG กล่าว “การขุดบิตคอยน์และการทำสแต็กกิ้งสินทรัพย์ดิจิทัลทำให้เรามีสิ่งที่เป็นแกนหลักของเทคโนโลยีบล็อกเชนซึ่งจะขับเคลื่อนความก้าวหน้านั้น Foundry จะนำทรัพยากรที่สำคัญและคำแนะนำมาสู่ด้านที่จำเป็นของอุตสาหกรรม และ Mike Colyer พร้อมทีมของเขามีทั้งความเชี่ยวชาญ ความน่าเชื่อถือ และความซื่อตรงที่จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของทั้งนักขุดและผู้ผลิต”

Foundry ให้ความสำคัญกับการร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้เล่นรายสำคัญ ๆ ในอุตสาหกรรมการขุดบิตคอยน์และการทำสแต็กกิ้ง โดยมีเป้าหมายที่จะขยายการเข้าถึงการขุดสินทรัพย์ดิจิทัลให้กว้างขึ้น กระจายโอกาสทางภูมิศาสตร์ และนำความถูกต้องและความโปร่งใสที่มากขึ้นมาสู่ระบบนิเวศการขุดบิตคอยน์ นอกจากนี้ Foundry ตั้งเป้าที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับบริษัทพลังงานและรัฐบาลเพื่อช่วยสร้างและเริ่มใช้กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการขุดบิตคอยน์

“ความเข้าใจของ Foundry ต่ออุตสาหกรรมการขุดบิตคอยน์บวกกับการสนับสนุนอยางเต็มรูปแบบของ DCG ได้พาบริษัทก้าวสู่การเป็นพันธมิตรหลักในการขยายธุรกิจของเราทั่วทั้งอเมริกาเหนือในปีที่ผ่านมา เราวางแผนที่จะสานต่อความร่วมมือนี้กับ Foundry ระหว่างที่เรามุ่งหน้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลก” Jordan Chen ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ MicroBT ผู้ผลิตเครื่องขุดบิตคอยน์จากเซินเจิ้น

“การสนับสนุนด้านงานและการเงินของ Foundry ต่อลูกค้าของเราช่วยให้เราสามารถส่งเครื่องจักรไปยังสหรัฐอเมริกาได้จำนวนมหาศาลในปีนี้” Su Ke ผู้อำนวยการด้านการขายและการตลาดทั่วโลกของ Antminer แห่ง Bitmain กล่าว “บริการระดับสถาบันของ Foundry สำหรับธุรกิจในอเมริกาเหนือและความเชี่ยวชาญของทีมงานมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น เราหวังที่จะได้ทำงานร่วมกับ Foundry อย่างใกล้ชิดเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าให้กับพวกเขา”

นอกจาก Foundry แล้ว DCG ยังเป็นบริษัทแม่ของ Grayscale Investments ซึ่งเป็นผู้จัดการสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเงินสกุลดิจิทัล Genesis โบรกเกอร์สำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่ให้บริการด้านสกุลเงินดิจิทัลแบบครบวงจรเจ้าแรกของโลก และ CoinDesk บริษัทด้านสื่อและกิจกรรมชั้นนำของอุตสาหกรรมบล็อกเชน นอกจากนี้ DCG ยังเป็นผู้ลงทุนในบริษัทต่าง ๆ กว่า 160 แห่งทั่วโลก

Colyer และทีมประจำสำนักงานอยู่ในโรเชสเตอร์ นิวยอร์ก

เกี่ยวกับ Foundry

Foundry เป็นบริษัทย่อยของ DCG และเป็นบริษัทการเงินและที่ปรึกษาด้านการขุดสินทรัพย์ดิจิทัลและการทำสแต็กกิ้ง ด้วยพันธกิจที่จะสร้างอำนาจให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีศูนย์กลาง (decentralized infrastructure) ให้กับโลกดิจิทัล Foundry และเป็นผู้จัดหาทุนและข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วให้กับธุรกิจขุดสินทรัพย์ดิจิทัลในอเมริกาเหนือ

สำนักงานของ Foundry ตั้งอยู่ที่โรเชสเตอร์ นิวยอร์ก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ foundrydigital.com

เกี่ยวกับ DCG

Digital Currency Group ก่อตั้งขึ้นโดย Barry Silbert ในปี 2558 และเป็นองค์กรระดับโลกที่พัฒนา ซื้อ และลงทุนในบริษัทบล็อกเชนทั่วโลก ในฐานะนักลงทุนที่มีบทบาทมากที่สุดในวงการบล็อกเชน DCG อยู่ ณ จุดศูนย์กลางของอุตสาหกรรมบล็อกเชน ซึ่งสนับสนุนบริษัทกว่า 160 แห่งในกว่า 30 ประเทศ นอกเหนือจากบริการด้านการลงทุนแล้ว DCG ยังเป็นบริษัทแม่ของ Grayscale Investments, Genesis, CoinDesk และ Foundry อีกด้วย

สำนักงานของ DCG ตั้งอยู่ในนิวยอร์กซิตี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ dcg.co

ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.comhttps://www.businesswire.com/news/home/20200827005146/en/

สื่อ

Mark Murphy

press@dcg.co

media@foundrydigital.com

ผู้บริโภคเพิ่มแรงกดดันทำให้เกิดนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–28 สิงหาคม 2563

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธานบริษัท อินฟอร์ อาเชียน

imgผู้บริโภคจำนวนมากเอาจริงเอาจังกับเรื่องคุณภาพอาหารที่จะบริโภค ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องถึงสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผู้ผลิตอาหาร เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจึงจำต้องเร่งให้มีการแนะนำ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่เปลี่ยนไปในเรื่องของความสดใหม่ ผลดีต่อสุขภาพ และความใส่ใจในกระบวนการผลิต เทคโนโลยีสามารถเข้ามาช่วยทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้  ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเรื่องอาหารการกินในทุกวันนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องรสชาติ ความสดใหม่ และความสะดวกสบายเท่านั้น  เมื่อต้องเลือกซื้ออาหารให้กับครอบครัว ผู้บริโภคจะใช้วิจารณญาณให้ความสำคัญในประเด็นสุขภาพ ประโยชน์ต่อร่างกายและเหตุปัจจัยทางสังคมอีกด้วย  โดยพวกเขาจะอ่านฉลากโภชนาการ หาข้อมูลตัวตนหรือความเป็นมาของซัพพลายเออร์ การคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ และการรักษาความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม  มาตรฐานต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคคาดหวังไว้เหล่านี้ ล้วนเพิ่มแรงกดดันให้กับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ทว่าบริษัททั้งหลายที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็ควรจะไขว่คว้าโอกาสนี้ไว้  เพราะการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความตระหนักรู้และรับผิดชอบต่อสังคม จะช่วยให้บริษัทสร้างความแตกต่างที่คุ้มค่าได้

ความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในด้านต่าง ๆ

เริ่มต้นจากแหล่งเพาะปลูก – ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารและเส้นทางที่เริ่มต้น จากแหล่งเพาะปลูกมาจนถึงจานอาหารมากขึ้น  จากรายงาน “แนวโน้มทิศทางอุตสาหกรรมอาหารของตลาดประเทศอาเซียนและจีน” ระบุถึงการที่ประชากรในเขตเมืองจะยอมจ่ายเพิ่มเพื่อคุณภาพที่ดีกว่า รวมถึงการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุชาวไทยและชาวสิงคโปร์ ทำให้ประชากรใส่ใจเรื่องสุขภาพและข้อมูลอาหารมากขึ้น  มูลนิธิ The International Food Information Council (IFIC) ระบุในรายงานล่าสุดเกี่ยวกับแนวโน้มด้านอาหาร ปี 2562 ว่า “ชาวอเมริกันมีความต้องการเสพข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารที่พวกเขาบริโภคเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา และเทคโนโลยีก็ช่วยผู้ที่ชมชอบการรับประทานอาหารได้มากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน…นอกจากนี้ยังได้ช่วยผลักดันให้เกิดความโปร่งใสด้านซัพพลายเชนอาหารอีกด้วย” 

โภชนเภสัช ไม่ใช่คนรุ่นมิลเลนเนียลเท่านั้นที่มองหาทางเลือกที่เกี่ยวกับสุขภาพอย่างจริงจัง  คนทุกวัยต่างหันมาใช้วิตามิน เกลือแร่ และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อกระดูก ข้อต่อ ระบบภูมิคุ้มกัน การย่อยอาหาร และสุขภาพสมองของตน  จากงานวิจัยของ Mintel ระบุว่า 20% ของผู้บริโภคชาวอเมริกันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ใช้อาหารเสริมเพื่อสุขภาพเกี่ยวกับข้อต่อ และเนื่องจากผู้บริโภคต่างเสาะหาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ช่วยลดอาการอักเสบได้ ดังนั้นจึงเกิดผลิตภัณฑ์มากมายหลายชนิดที่มีส่วนผสมของขิง ขมิ้น สารสกัดชาเขียว และเห็ดต่าง ๆ ที่สามารถใช้รักษาโรคได้

เมื่อสุขภาพและความงามไปด้วยกัน – ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่จัดทำโดยอุตสาหกรรมความงามซึ่งครั้งหนึ่งเคยเปิดเผยถึงผลเบอรี่และเครื่องเทศบางชนิดที่ให้ประโยชน์ในการชะลอวัยได้  นอกจากนี้สิ่งที่ได้รับความสนใจอื่น ๆ ได้แก่กรดไขมันโอเมก้า-3 ไบโอติน อโลเวร่า และโคเอนไซม์คิวเท็น ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ  ที่ผ่านมาบริษัทต่าง ๆ ไม่ค่อยเต็มใจลงทุนทางด้านนี้มากเท่าใดนัก เนื่องจากข้อจำกัดในการอ้างอิงถึงคุณประโยชน์ต่าง ๆ ด้านสุขภาพ  ปัจจุบันผู้บริโภคที่มีข้อมูลพร้อม ต้องการข้อมูลพื้นฐานและคำอธิบายต่าง ๆ บนบรรจุภัณฑ์น้อยลง ดังนั้นความท้าทายของผู้ผลิตจึงอยู่ที่การตัดสินใจเลือกส่วนผสมให้เหมาะกับชนิดของผลิตภัณฑ์มากกว่า

ความยั่งยืน – มูลนิธิ IFIC ระบุว่า “ความเคลื่อนไหวด้านความยั่งยืนนั้นเกิดขึ้นเป็นวัฎจักร เนื่องจากมีวิธีใหม่ ๆ ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ นับตั้งแต่เรื่องแหล่งวัตถุดิบไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การกำจัดขยะ หรือการนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง วิธีการแบบ 360 องศานี้สะท้อนให้เห็นถึงหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีการรักษาทรัพยากรต่าง ๆ ไว้ใช้งานให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เป็นการนำเอาคุณค่าของทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำวัสดุกลับไปใช้งานใหม่อีกครั้งเมื่อหมดอายุการใช้งาน”

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลาสติก – วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำจากพลาสติกได้กลายเป็นหัวข้อร้อนแรงระดับโลก ซึ่งผลักดันให้เกิดความต้องการด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ  วัสดุบรรจุภัณฑ์ชีวฐานจะกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตบรรจุภัณฑ์รุ่นใหม่ ๆ ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม  ความคิดริเริ่มต่าง ๆ เช่น โครงการ “Loop” หรือ “Upcycling SE Project” ก็กำลังพยายามที่จะนำแนวความคิดเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่สามารถส่งคืนและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ กลับมาอีกครั้งหนึ่ง

ขยะน้อยลง – ในปี 2561 ได้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับ “ผลผลิตที่ไม่น่ากิน: ugly produce” ขึ้น พืชผักผลไม้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามข้อกำหนดที่ผู้ค้าปลีกระบุได้รับโอกาสอีกครั้งหนึ่ง โดยทางเทสโก้ได้กลายเป็นผู้ค้าปลีกพิเศษแต่เพียงผู้เดียวที่จำหน่ายน้ำผลไม้ประเภท “Waste NOT” หลากหลายชนิดซึ่งล้วนแล้วแต่ทำมาจากผลผลิตที่ถูกระบุว่า “ไม่น่ากิน” ทั้งสิ้น

การอนุรักษ์ดิน – ดินดีอุดมสมบูรณ์ด้วยสารอาหารเป็นรากฐานของอาหารเพื่อสุขภาพ  บริษัทต่าง ๆ ควรเข้ามามีบทบาทในการทำให้ดินอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เช่น แบรนด์สินค้าอาหารสำหรับทารกของประเทศอเมริกา “Gerber” ที่กำลังหวังว่าแนวทางแบบองค์รวมและเกษตรอินทรีย์ที่อยู่ในสายผลิตภัณฑ์ “Clean Field Farming” ของบริษัทฯ จะประสบความสำเร็จ และช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งช่วยปรับปรุงระบบนิเวศให้ดีขึ้นด้วย  นอกจากนี้ Annie’s Homegrown ก็ยังเป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ช่วยสร้างความรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคในเรื่องนี้

การลดน้ำตาล – จากรายงานคำแนะนำในการบริโภคอาหารสำหรับชาวอเมริกัน ปี 2558-2563 (Dietary Guidelines for Americans 2015-2020) พบว่าคนจำนวนมากเชื่อคำแนะนำในการให้รับประทานน้ำตาลน้อยลง โดย 77% กล่าวว่าพวกเขากำลังค่อย ๆ จำกัดหรือหลีกเลี่ยงน้ำตาลในอาหาร และอีก 59% เห็นว่าน้ำตาลเป็นของไม่ดี  สารให้ความหวานจากพืชแบบใหม่หรือที่ได้จากผลิตภัณฑ์นม กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์แบบคลาสสิกให้ดีขึ้น

มังสวิรัติ – การรับประทานอาหารที่มาจากพืชเป็นหลักยังคงได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น โดยยอดขายอาหาร “ทางเลือกมังสวิรัติ” เพิ่มขึ้นถึง 20% ตั้งแต่ปี 2560  จากโพลล์ของ Gallup พบว่ามีชาวอเมริกันเพียง 5% เท่านั้นที่ระบุว่าเป็นมังสวิรัติ และอีก 3% เป็นวีแกน แต่สำหรับคนอื่น ๆ มีการเพิ่มผักชนิดต่าง ๆ และลดการบริโภคโปรตีนเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพทั่วไป สำหรับประเทศไทยพบว่ามีชาวไทยเพียง 3.3% ที่เป็นมังสวิรัติ

แล้วเทคโนโลยีช่วยให้ผู้ผลิตก้าวทันความต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างไร

เพื่อให้ก้าวทันต่อเหตุการณ์ ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะต้องทันเทรนด์ต่าง ๆ และอัปเดตการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีสามารถช่วยได้หลากหลายวิธีดังนี้

นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ – การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วถือเป็นเรื่องที่จำเป็น  กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แสดงถึงทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพได้ อีกทั้งยังมีการเพิ่มแร่ธาตุและสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับความสมดุลของสุขภาพเข้าไปในผลิตภัณฑ์ด้วย  การลดน้ำตาล สีสังเคราะห์ และวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคยุคใหม่จำนวนมากได้เช่นกัน  โซลูชั่นด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กรที่ทันสมัย (enterprise resource planning – ERP) สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโดยเฉพาะจะช่วยจัดการเรื่องสูตรอาหาร วัตถุดิบ และสูตรในการผลิตต่าง ๆ ทำให้มั่นใจว่าสามารถรักษาคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด  ส่วนโซลูชั่นในการจัดการวงจรการผลิต (Product lifecycle management – PLM) ยังช่วยเร่งความเร็วในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ จัดการขั้นตอนต่าง ๆ พร้อมปรับปรุงการบริหารจัดการโครงการ การทำงานร่วมกัน และการทดสอบผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น

ฉลากชัดเจน (Clean labels) – ความโปร่งใสและความชัดเจนในกระบวนการผลิตอาหารกำลังทวีความ สำคัญมากยิ่งขึ้น ฉลากสินค้าเป็นกลยุทธ์สำคัญในการถ่ายทอดข้อความต่าง ๆ (ที่ต้องการสื่อถึงผู้บริโภค) บริษัทที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม RSM กล่าวว่า “ปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที หากเขาไม่เข้าใจหรือไม่สามารถหาข้อมูลได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ผลิตขึ้นมาอย่างไรและมีอะไรอยู่ในนั้นบ้าง ก็มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะไม่สนใจผลิตภัณฑ์นั้น ๆ  ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยจัดรูปแบบและเนื้อหาของป้ายกำกับแบบ clean label ให้เป็นไปตามข้อบังคับปัจจุบัน  โซลูชั่น PLM ช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ง่าย และเป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

การวางแผนด้านซัพพลาย – เมื่อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกสู่ตลาด และเริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้น ความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วคือสินค้ามีไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย  บริษัทต่าง ๆ ต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์ และใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการวางแผนด้านซัพพลายเชน เพื่อให้ผู้ค้าปลีกสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้

การสามารถตรวจสอบย้อนกลับระบบซัพพลายเชน – มูลนิธิ  International Food Information Council (IFIC) ระบุว่าเรื่องนี้ติดหนึ่งในห้าอันดับแรกของแนวโน้มด้านอาหารในปี 2562 และคาดว่าจะยังเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภคต่อไปอีก และจะทำให้เกิดความต้องการโซลูชั่นที่สามารถให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน  ผู้ผลิตอาหารจำนวนมากขึ้นทราบดีว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ มีราคาถูกลง และสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านั้นในการจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนได้  โซลูชั่นการจัดการซัพพลายเชนสมัยใหม่ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการมองภาพรวมและการติดตามตรวจสอบซัพพลายเออร์

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ – โซลูชั่นธุรกิจอัจฉริยะ (business intelligence – BI) ที่ทันสมัยที่มีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ติดตั้งมาด้วย จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ คาดการณ์แนวโน้ม และความต้องการของตลาด  ข้อมูลเชิงลึกที่วิเคราะห์ถึงอนาคตจะช่วยในการเตรียมวัตถุดิบ และวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้ เช่น ด้านเครื่องจักร บรรจุภัณฑ์ และบุคลากร

สรุปประเด็นสำคัญ

โลกของการผลิตอาหารและเครื่องดื่มมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรื่องรสชาติเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัย หลากหลายประการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค ทุกวันนี้ประเด็นด้านสุขภาพ ความสมดุลของร่างกาย และเหตุปัจจัยทางสังคม เช่น ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ต่างก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตจะเห็นเรื่องนี้เป็นความท้าทายหรือเป็นโอกาสในการปรับให้เข้ากับลูกค้า และด้วยการมีเทคโนโลยีทันสมัยพร้อมใช้งานจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถคว้าโอกาสในการเร่งเปิดตัว และนำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นตัวช่วยนำพาบริษัทก้าวไปสู่ความเจริญเติบโตในอนาคต 

น้องม.ปลายพร้อมไหม โครงการ “สหพัฒน์แอดมิชชั่น” ครั้งที่ 23

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–28 สิงหาคม 2563

imgน้องม.ปลายพร้อมไหม โครงการ “สหพัฒน์แอดมิชชั่น” ครั้งที่ 23 เขาเตรียมจัดตารางติวเข้มให้น้อง ๆ ไปลุยสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันเต็มที่ แถมปีนี้บอสหญิงแห่งสหพัฒน์ ชัยลดา ตันติเวชกุล ยังประกาศปรับเปลี่ยนการติวให้เป็นออนไลน์ Live Streaming Class ติวฟรีแบบใหม่ อยู่ไหนก็ติวได้อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เข้าถึงน้อง ๆ ทั่วประเทศ และยังขนกองทัพติวเตอร์ชื่อดังมาติดอาวุธความรู้ให้น้อง ๆ พร้อมแนะแนวอาชีพที่น่าสนใจ แถมน้อง ๆ คนไหนติวจบ จะได้รับ Online Certificate เพื่อนำไปแนบในพอร์ตกันด้วย งานนี้บอกเลยว่าพลาดไม่ได้ สำหรับน้อง ๆ นักเรียนที่สนใจติวเข้มออนไลน์ สามารถลงทะเบียนได้ทาง www.sahapatadmission.com หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 064-163-3449 และ 064-836-3990

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์  บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0 2354 3588 www.incom.co.th

อุษณีย์ ถาวรกาญจน์  โทร.081 984 5500 Email: usanee@incom.co.th

โค้งสุดท้าย! มูลนิธิเอสซีจี ชวนน้องประถมฯ ประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด”

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–26 สิงหาคม 2563

imgใกล้ปิดรับสมัครแล้ว สำหรับการประกวดวาดภาพระบายสี ในโครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) ซึ่งจัดโดย มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ขอเชิญชวนน้อง ๆ นักเรียนระดับประถมศึกษาทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน เข้าร่วมการประกวดวาดภาพระบายสี ในหัวข้อการดูแลตัวเองที่โรงเรียน ให้ห่างไกลจากโควิด -19 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เห็นความสำคัญของการป้องกันตนเอง  รวมไปถึงการปลูกฝังเรื่องสุขลักษณะในชีวิตประจำวัน เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางกายภาพ การล้างมือ เป็นต้น โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2563

การประกวดเป็น 2 ประเภท คือ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1 – 3  และ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ปีที่ 4 – 6 โดยวาดภาพผลงานลงบนกระดาษขนาด A3 ไม่จำกัดเทคนิคการวาด สามารถใช้สีได้ทุกประเภท ซึ่งจะคัดเลือกผู้เข้ารอบจำนวน ประเภทละ 20 ภาพ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในวันที่ 5 กันยายน 2563 แล้วเปิดให้ทางบ้านร่วมโหวตผ่าน Facebook มูลนิธิเอสซีจี ระหว่างวันที่  6 – 18 กันยายน โดยภาพที่มียอด Like สูงสุดจะได้รับรางวัลขวัญใจมหาชน ซึ่งรอบสุดท้ายจะตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และประกาศผลผู้ชนะรางวัลในวันที่ 19 กันยายน 2563 ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 20,000 บาท รวมเงินรางวัล 160,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลและประกาศนียบัตรจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย นอกจากนี้โรงเรียนต้นสังกัดของนักเรียนที่ได้รับรางวัลทั้งหมด จะได้รับชุดอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ประกอบไปด้วย เครื่องวัดอุณหภูมิ โรงเรียนละ 2 เครื่อง และสเปรย์แอลกอฮอล์ โรงเรียนละ 100 ขวด

น้อง ๆ นักเรียนระดับประถมศึกษาที่สนใจ รีบคลิกดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.scgfoundation.org และส่งภาพผลงานมาที่ มูลนิธิเอสซีจี หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2586 2042 และ 0 2586 1190 และเฟซบุ๊กมูลนิธิเอสซีจี https://www.facebook.com/SCGFoundation/

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ มูลนิธิเอสซีจี โทร 0 2586 2042 หรือ 0 2586 1190

ฝ่ายประชาสัมพันธ์  บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0 2354 3588 www.incom.co.th
อุษณีย์ ถาวรกาญจน์ โทร.081 984 5500 Email: usanee@incom.co.th

Dataiku ระดมทุน 100 ล้านดอลลาร์เพื่อขยายความเป็นผู้นำในด้านตลาด AI ขององค์กร

Logo

Stripes เป็นผู้นำรอบ Series D ในขณะที่ Tiger Global Management จะเข้ามาร่วมลงทุนกับบริษัทที่ร่วมลงทุนอยู่ก่อนแล้วอย่าง Battery Ventures, CapitalG, Dawn Capital, FirstMark Capital และ ICONIQ

นิวยอร์ก–(BUSINESS WIRE)–24 ส.ค. 2563

Dataiku ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Enterprise AI และแมชชีนเลิร์นนิงชั้นนำระดับโลกประกาศในวันนี้ ว่าด้วยรอบการลงทุน Series D มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ซึ่งจะถูกนำโดย Stripes พร้อมกับการลงทุนครั้งใหญ่โดย Tiger Global Management และการมีส่วนร่วมจากบริษัทที่ลงทุนไว้อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งได้แก่ Battery Ventures, CapitalG, Dawn Capital, FirstMark Capital และ ICONIQ การระดมทุนครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ Dataiku ยังคงขับเคลื่อน AI ภายในองค์กรต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยการให้บริการลูกค้ากว่า 300 รายที่เข้าใจว่ากลยุทธ์ AI แบบทำงานร่วมกันและแบบ end-to-end หรือ แบบที่มีกระบวนการลอจิสติกส์ครบวงจร มีความสำคัญต่อความสำเร็จของพวกเขา

“ความเป็นผู้นำของเราในด้าน AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับองค์กรยังคงดึงดูดนักลงทุนระดับโลกที่เข้าใจว่าฐานลูกค้าและโซลูชันของ Dataiku นั้นอยู่ในระดับโลกอย่างแท้จริง และเราอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมือนใครในการช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ใช้งานศักยภาพที่ยังไม่ได้ถูกใช้ในด้าน AI เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กร” Florian Douetteau  ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Dataiku กล่าว “ในตลาดธุรกิจทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในปี 2563 AI ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จขององค์กรที่ขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในตลาดแนวดิ่งที่สำคัญทุกแห่ง”

Dataiku ก่อตั้งขึ้นในปี 2556 โดยมีพันธกิจในการนำโครงการแมชชีนเลิร์นนิงและ AI ออกจากห้องทดลองและนำมาใช้ในการดำเนินงานประจำวันของบริษัทต่าง ๆ อย่างแท้จริง Dataiku ให้บริการลูกค้าหลายร้อยรายทั่วโลก ซึ่งรวมถึง Schlumberger, GE Aviation, Sephora, Unilever, BNP Paribas, Premera Blue Cross, Kuka และ Santander โดยทีมงานของบริษัทมีมากกว่า 450 คนทั่วโลกทั้งในนิวยอร์ก ปารีส ลอนดอน แฟรงก์เฟิร์ต ดูไบ อัมสเตอร์ดัม ซิดนีย์ และสิงคโปร์

“ความก้าวหน้าของ AI ในองค์กรได้ก้าวไปอย่างรวดเร็วจากการทดลองไปสู่การใช้งานจริงที่ปรับขนาดได้ในปี 2563 และ Dataiku อยู่ในระดับแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้งานสำหรับองค์กรที่ปลอดภัย ครอบคลุมทุกด้าน และมีความพร้อมในเชิงองค์กรที่มากที่สุดเท่าที่เราเคยเห็นในการวิจัยอย่างกว้างขวางของเราในตลาดนี้” Ron Shah หุ้นส่วนของ Stripes กล่าว “สิ่งที่เราได้เห็นใน Dataiku ไม่เพียงแต่แค่เรื่องความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีที่พร้อมต่ออนาคตสำหรับลูกค้าในเกือบทุกวงการอุตสาหกรรมและทุกภูมิศาสตร์ที่สำคัญ แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือการมีทีมงานมืออาชีพที่ทุ่มเทและองค์กรระดับโลกที่ทำงานเพื่อทำให้มั่นใจได้ถึงความไว้วางใจ ความปลอดภัยและศักยภาพด้านการรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดฝันผ่านการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จอย่างต่อเนื่องผ่านการลงทุนครั้งนี้” Paul Melchiorre หุ้นส่วนด้านปฏิบัติการของ Stripes กล่าวเสริม

“ตลาดของวงการนี้ ยังคงยืนยันให้แนวทางการทำงานร่วมกันของ Dataiku เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการใช้ AI ทั่วทั้งองค์กร” Evgenia Plotnikova หุ้นส่วนของ Dawn Capital กล่าว “ความคล่องตัวจากการใช้ AI ไม่เคยเป็นศักยภาพที่สำคัญมากเท่านี้มาก่อนในองค์กร”

เกี่ยวกับ Dataiku

Dataiku เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม AI และแมชชีนเลิร์นนิงชั้นนำของโลกซึ่งสนับสนุนความคล่องตัวในความพยายามด้านข้อมูลขององค์กรผ่าน AI ที่ทำงานร่วมกัน ยืดหยุ่น และมีความรับผิดชอบในระดับองค์กร บริษัทหลายร้อยแห่งใช้ Dataiku เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ และทำให้มั่นใจว่าพวกเขายังคงก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการใช้โมเดลที่ขับเคลื่อนการตรวจจับการฉ้อโกง การป้องกันการปั่นป่วนด้านลูกค้า การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ การเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชน และอื่น ๆ อีกมากมาย Dataiku ถูกสร้างขึ้นสำหรับ บริษัทที่ต้องการพัฒนา AI ให้ถูกใช้อย่างทั่วถึงทั่วทั้งองค์กร เพื่อนำความคล่องตัวและความพร้อมมาสู่ธุรกิจผ่านการใช้ข้อมูลมาสู่ทุกคน ตั้งแต่นักวิเคราะห์ไปจนถึงนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

เกี่ยวกับ Stripes

Stripes เป็น บริษัทหลักทรัพย์เพื่อการเติบโตชั้นนำที่นำเสนอแนวทางการเป็นผู้ประกอบการที่ไม่เหมือนใครในการลงทุนในธุรกิจซอฟต์แวร์และธุรกิจผู้บริโภคที่มีการเติบโตสูงทั่วโลก กว่าทศวรรษที่ผ่านมา Stripes ได้ร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในตลาดเพื่อให้การสนับสนุนที่จำเป็นในการเร่งการเติบโตและการบรรลุวิสัยทัศน์ในระยะยาว ภารกิจของ Stripes คือการมีวัฒนธรรม ชุดทรัพยากร และความเชี่ยวชาญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการมีข้อได้เปรียบที่ไม่มีใครเทียบได้ในตลาดที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Stripes ได้ที่ https://www.stripes.co/.

ดูเวอร์ชันต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20200823005026/en/

ติดต่อ:

Laurel Toney

dataiku@strangebrewstrategies.com

JMT เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ ต่อผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ รุ่นอายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี และรุ่นอายุ 3 ปี 6 เดือน ดอกเบี้ย 4.40% ต่อปี เสนอขายวันที่ 28 และ 31 สิงหาคม และ 1 กันยายน นี้

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–24 สิงหาคม 2563

imgบริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน)  (“บริษัท” หรือ “JMT”) เสนอขายหุ้นกู้ อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี และรุ่นอายุ 3 ปี 6 เดือน ดอกเบี้ย 4.40% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน จองซื้อขั้นต่ำ 1 แสนบาทสำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่ และทวีคูณครั้งละ 1 แสนบาท ผู้ที่สนใจสามารถจองซื้อได้ที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ อาร์เอชบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) โดยจะเสนอขายหุ้นกู้วันที่ 28 และ 31 สิงหาคม และ 1 กันยายน 2563 นี้ ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้และร่างหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th

บริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นกู้ โดยเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยบริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ “BBB” แนวโน้ม “Stable” โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563

สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ บริษัทฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้รับจากการออกและเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ไปใช้ในการลงทุนเพิ่ม และ/หรือดำเนินการทั่วไปของบริษัท นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) กล่าว่า “บริษัทฯ มองว่าในช่วงนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่บริษัทฯ จะซื้อหนี้เข้ามาบริหารเพิ่มเติม เราพร้อมเป็นพาร์ทเนอร์กับสถาบันการเงินทุกแห่ง ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาบริษัทสามารถบริหารจัดการให้สามารถมีผลประกอบการได้ตามเป้าหมายได้ สามารถทำกำไรรายไตรมาสเป็นสถิติสูงสุด และมีกระแสเงินสดที่จัดเก็บจากลูกหนี้ที่เติบโตกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนของปีที่แล้ว”

JMT เป็นบริษัทในเครือ เจมาร์ท ซึ่ง JMT ดำเนินธุรกิจให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้สิน และ ซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินมาบริหาร โดยปัจจุบันบริษัทมีกองหนี้ด้อยคุณภาพที่อยู่ภายใต้การบริหารมากกว่า 189,000 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้นำในการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพอันดับต้นของประเทศ ที่มีทิศทางผลการดำเนินงานของบริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ มามากกว่า 20 ปี โดยล่าสุด ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 บริษัทมีกำไรสุทธิ 227 ล้านบาท หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ 52% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ขณะที่รายได้รวมอยู่ที่ 762 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการขยายตัวที่ 29% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า โดยบริษัทยังมีแผนเดินหน้าซื้อหนี้เข้ามาบริหารเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง จากการที่หนี้ด้อยคุณภาพในระบบยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก สำหรับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น ยังไม่ได้ส่งผลกระทบในการจัดเก็บหนี้ของบริษัท โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 นั้น บริษัทมียอดจัดเก็บหนี้ (Cash Collection) เท่ากับ 1,699 ล้านบาท หรือเท่ากับอัตราการขยายตัวที่ 20% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

“สหพัฒน์” เปิดโครงการ “สหพัฒน์แอดมิชชั่น” ครั้งที่ 23 จัดติวฟรีออนไลน์รูปแบบใหม่ให้น้อง ม.ปลายก่อนเข้ามหาวิทยาลัย

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–24 สิงหาคม 2563

imgนางชัยลดา ตันติเวชกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทสหพัฒนพิบูลย์ จำกัด (มหาชน) และ นายฉัตรชัย ภู่โคกหวาย  กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมด้วย คุณนฤมล ชวเลขยางกูร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ฟร็อกดิจิตอล กรุ๊ป จำกัด เปิดโครงการ “สหพัฒน์แอดมิชชั่น” ครั้งที่ 23 ซึ่งเป็นครั้งแรกของการติวฟรีรูปแบบใหม่ Live Streaming Class ติวฟรีแบบใหม่ อยู่ไหนก็ติวได้” ผ่านระบบ Interactive Video Platform บนเว็บไซต์ Sahapat Admission ณ ลานอเนกประสงค์ เนชั่นทีวี เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ ได้เตรียมความพร้อมก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างเข้มข้นไปพร้อมกัน

#SahatpatAdmission23

#ติวฟรีแบบใหม่อยู่ไหนก็ติวได้

###

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์  บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0 2354 3588 www.incom.co.th

อุษณีย์ ถาวรกาญจน์  โทร. 081 984 5500 Email: usanee@incom.co.th

สคฝ. เผยสถิติผู้ฝาก 6 เดือนแรก รวม 80 ล้านราย ย้ำมาตรการคุ้มครองเงินฝากมั่นคงสูง พร้อมเปิดศูนย์บริการให้ความรู้การคุ้มครองเงินฝาก 1158 และช่องทางออนไลน์ ให้ข้อมูลการคุ้มครองแก่ประชาชน

Logo

imgกรุงเทพฯ 24 สิงหาคม 2563 – สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA เสริมความมั่นใจการคุ้มครองเงินฝากในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวน ย้ำมาตรการการคุ้มครองเงินฝากที่เป็นบัญชีเงินฝากสกุลเงินบาทภายในประเทศ ครอบคลุมบัญชีของผู้ฝากที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในสถาบันการเงินภายใต้การคุ้มครองทั้ง 35 แห่ง ซึ่งหากสถาบันการเงินภายใต้การคุ้มครองถูกปิดกิจการ สคฝ. จะคืนเงินฝากภายใน 30 วัน โดยข้อมูลในช่วงครึ่งปี 2563 ระหว่างเดือน มกราคม ถึง มิถุนายน พบว่า ประเทศไทย มีจำนวนผู้ฝากในระบบสถาบันการเงินภายใต้ความคุ้มครองของ สคฝ. รวม 80.82 ล้านราย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.38 หรือราว 1.1 ล้านราย และจำนวนเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง มีจำนวนทั้งสิ้น 14.67 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.12 เมื่อเทียบกับข้อมูล ณ สิ้นปี 2562 โดยกว่าร้อยละ 98 เป็นผู้ฝากรายย่อย
มีเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการคุ้มครองเงินฝากเพิ่มเติมได้ที่ www.dpa.or.th   ศูนย์บริการให้ความรู้การคุ้มครองเงินฝาก โทร. 1158 และเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/dpathailand             

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนทั่วทุกมุมโลก โดย สคฝ. มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองเงินฝากแก่ผู้ฝาก ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ฝากเงินเป็นสกุลเงินบาทกับสถาบันการเงินภายใต้กฎหมาย ว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากทั้ง 35 แห่ง ซึ่งจะคุ้มครองทันทีในลักษณะ 1 รายชื่อผู้ฝากต่อ 1 สถาบันการเงิน ในบัญชีเงินฝาก 5 ประเภท ได้แก่ 1. เงินฝากกระแสรายวัน 2. เงินฝากออมทรัพย์ 3. เงินฝากประจำ 4. บัตรเงินฝาก และ 5. ใบรับฝากเงิน อย่างไรก็ตาม ในกรณีสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ฝากจะได้รับเงินฝากคืนภายใน 30 วัน ตามวงเงินที่กฎหมายกำหนด โดยปัจจุบันวงเงินคุ้มครองเงินฝากอยู่ที่ 5 ล้านบาท ทั้งนี้ วงเงินคุ้มครองดังกล่าว สามารถครอบคลุมการคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนของผู้ฝาก 80.51 ล้านราย หรือคิดเป็นร้อยละ 99.63 ของผู้ฝากทั้งระบบ สำหรับเงินฝากที่เกินวงเงินการคุ้มครอง ผู้ฝากมีโอกาสได้รับเงินฝากคืนเพิ่มเติม จากการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการในภายหลัง                

จากข้อมูลสถิติการฝากเงินในสถาบันการเงิน ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเงินฝากย้อนหลัง 3 ปี พบแนวโน้มจำนวนเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองของระบบสถาบันการเงินเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2560 – 2562 มีเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง จำนวน 12.54 ล้านล้านบาท 13.02 ล้านล้านบาท และ 13.56 ล้านล้านบาท ตามลำดับ และจากข้อมูลในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน พบว่า
ประเทศไทย มีจำนวนผู้ฝากในระบบสถาบันการเงินภายใต้ความคุ้มครองของ สคฝ. รวม 80.82 ล้านราย โดยเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.38 หรือราว 1.1 ล้านราย และมีจำนวนเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองมีจำนวนทั้งสิ้น 14.67 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.12 เมื่อเทียบกับข้อมูลเมื่อสิ้นปี 2562 โดยกว่าร้อยละ 98 เป็นผู้ฝากรายย่อยที่มีเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท

จากข้อมูลพบว่า ปัจจุบันปริมาณเงินฝากมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ฝากเกือบทุกกลุ่ม โดยปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่ม “ผู้ฝากบุคคลธรรมดา” และ “ผู้ฝากภาคธุรกิจ องค์กรภาครัฐ และกองทุนต่าง ๆ” อีกทั้งมีการขยายตัวใน
ทุกระดับวงเงินฝาก โดยเกือบครึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากในระดับเงินฝากวงเงินสูงกว่า 25 ล้านบาท อย่างไรก็ดี
จากปริมาณเงินฝากที่ขยายตัวในอัตราสูง เป็นผลมาจากความผันผวนในตลาดการเงิน ทำให้นักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนมาเข้าเงินฝากมากขึ้นเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากเงินฝากมีความปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นในตลาดเงินที่ผลตอบแทนลดลง และยังมีแนวโน้มการออมเพื่อสำรองการใช้จ่ายในอนาคต

อย่างไรก็ดี จากข้อมูลผลตอบแทนตามประเภทสินทรัพย์เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ระหว่าง 2553 – 2562 พบว่า ผลตอบแทนการฝากเงินประเภทออมทรัพย์อยู่ที่ร้อยละ 0.72 ประเภทฝากประจำ 1 ปีอยู่ที่ร้อยละ 1.88 ประเภทพันธบัตร 3 ปีอยู่ที่ร้อยละ 2.41 ทองคำอยู่ที่ร้อยละ 2.31 JUMBO25 (หุ้น) อยู่ที่ร้อยละ 10.01 ทั้งนี้ แม้ว่าการฝากเงินยังเป็นช่องทางที่มั่นคงและมีความปลอดภัยสูง แต่ผู้ฝากยังสามารถพิจารณาการจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) ตามความเหมาะสมและความต้องการของตนเอง โดยต้องพิจารณาและศึกษาการจัดสรรสินทรัพย์อย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยในการบริหารการเงินอย่างยั่งยืน ขณะนี้ สคฝ. อยู่ระหว่างการศึกษาผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ เพื่อพิจารณาขยายการคุ้มครองในอนาคต นายทรงพล กล่าวทิ้งท้าย

 ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ สามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากได้ที่ www.dpa.or.th
ศูนย์บริหารให้ความรู้การคุ้มครองเงินฝาก โทร. 1158 และเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/dpathailand    

###

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนติดต่อ

เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์ – JC&CO PUBLIC COMMUNICATIONS –

ชิดชนก ทองดี / +6698-494-9351 / chidchanokt@jcco.co.th  

ปัณณทัต กิตติพงศ์ยิ่งยง / 6662-445-9966 / pannatatk@jcpr.co.th

** MEDIA HOTLINE: 063-641-9549 (ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์) **

“แลคตาซอย” ชวนโพสต์ท่า สู้สู้ คู่กับกล่องเเลคตาซอย ครีเอทท่าเด็ดพร้อมข้อความให้กำลังใจลุ้นรับรางวัลใหญ่

Logo

กรุงเทพฯ–(THAI BUSINESS NEWS)–24 สิงหาคม 2563

imgแลคตาซอย ชวนมาร่วมสนุกกับกิจกรรม “โชว์ท่า..เเลคตาซอย สู้ๆ เติมพลัง ในวันใหม่” ด้วยกติกาแสนง่าย เพียงโพสต์รูปโชว์ท่าสู้ๆ คู่กับกล่องเเลคตาซอย 300 มิลลิลิตร หรือ 500 มิลลิลิตร  พร้อมคำให้กำลังใจเพื่อนๆ ให้สู้ๆ ไปด้วยกัน นำมาโพสต์ลงเฟซบุ๊กของตนเองและตั้งค่าเป็นสาธารณะ ติด #Lactasoy #แลคตาซอย เเคปภาพมายืนยันการร่วมกิจกรรมที่ FB: Lactasoy https://www.facebook.com/lactasoyclub/ ระยะเวลาการร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 63 ถึง 24 ก.ย. 63 นี้เท่านั้น

ผู้โชคดีที่ร่วมสนุกลุ้นรับของรางวัลใหญ่ ได้แก่ รางวัลที่ 1 iPad 10,900.- รางวัลที่ 2 หม้อทอดไร้น้ำมัน tefal 5,900.-  รางวัลที่ 3 เครื่องชงกาแฟแรงดัน mini mex 4,290.-  รางวัลที่ 4 เครื่องสกัดน้ำผักผลไม้ electrolux 3,200.-  ประกาศผลวันที่ 30 ก.ย. 63 ทาง FB: Lactasoy https://www.facebook.com/lactasoyclub/

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์  บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0 2354 3588 www.incom.co.th

อุษณีย์ ถาวรกาญจน์  โทร. 081 984 5500 Email: usanee@incom.co.th