การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและแรงจูงใจของเด็กที่เกี่ยวข้องกับอัตราการจดจำในการเรียนรู้ของเด็ก
โตเกียว–(BUSINESS WIRE)–31 สิงหาคม 2564
สถาบันวิจัย SPRIX ซึ่งดำเนินการโดย SPRIX (สำนักงานใหญ่: Toshima Ward, Tokyo) (ตัวแทนผู้อำนวยการและประธาน: Hiroyuki Tsuneishi) ได้นำสองแบบสำรวจที่ออกแบบมาใช้เพื่อทำความเข้าใจการศึกษาของรัฐทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น แบบสำรวจทั้งสองมุ่งเป้าไปที่เด็กและพ่อแม่หรือผู้ปกครองใน 11 ประเทศที่แตกต่างกัน แบบสำรวจแรกเป็นแบบสำรวจความตระหนัก เน้นการเรียนรู้ และแบบที่สองเป็นแบบสำรวจความรู้ เน้นการวัดทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐาน
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีมัลติมีเดีย รับชมฉบับเต็มได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20210831005018/en/
อัตราการตอบกลับโดยเฉลี่ย (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) สำหรับแบบสำรวจทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานที่มุ่งเป้าไปที่เด็กอายุสิบห้าหรือน้อยกว่าใน 11 ประเทศ (กราฟิก: Business Wire)
การสำรวจแต่ละครั้งเกี่ยวข้องกับผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนหนึ่งพันรายในแต่ละประเทศ รวมเด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครองเป็นจำนวน 22,000 ราย ผลการสำรวจพบว่าประเทศที่มีระดับความสม่ำเสมอในการเรียนรู้และการจดจำสำหรับทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานที่สูงขึ้นยังมีอัตราการมีส่วนร่วมของพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการเรียนรู้ของเด็กที่สูงขึ้น ผลการสำรวจทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานยังชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มอัตราการตอบสนองที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อทราบถึงอาชีพในอนาคตของเด็กอย่างชัดเจน
ผลสำรวจที่สำคัญ
1. อัตราการตอบกลับโดยเฉลี่ยสำหรับผลการสำรวจทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานเกินร้อยละเจ็ดสิบในเอเชีย และพบว่าผลลัพธ์ของยุโรปและสหรัฐอเมริกาโดยทั่วไปต่ำกว่า
เราเห็นความแตกต่างในระดับภูมิภาคอย่างชัดเจนในการเรียนรู้ที่สม่ำเสมอและการจดจำสำหรับเด็กอายุสิบห้าหรือต่ำกว่า
2. เด็กจากประเทศที่มีอัตราของความสม่ำเสมอในการเรียนรู้และการจดจำที่สูงขึ้นจะมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับอนาคตของพวกเขา
เด็กที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตจะมีความสนใจในชั้นเรียนและการศึกษาด้วยตนเอง
3. ประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมดตระหนักถึงความสำคัญของทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐาน
ที่กล่าวมานั้น ได้เห็นความแตกต่างบางประการในแนวทางการเรียนรู้ในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
4. ความพึงพอใจในชั้นเรียนเกินร้อยละแปดสิบ การระบาดใหญ่เปลี่ยนแปลงไปสู่การเรียนรู้ออนไลน์ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญ พ่อแม่และผู้ปกครองมากกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ต้องการให้แบบสำรวจความรู้มีการตรวจสอบถึงความยากลำบากเป็นประจำของการเรียนออนไลน์ในช่วงที่เกิดโรคระบาด อย่างเช่น โควิด-19
หมายเหตุ: เมื่อต้องการแชร์เนื้อหาจากข่าวประชาสัมพันธ์นี้ ให้ระบุว่าจัดทำโดยสถาบันวิจัย SPRIX
ภาพรวมของการสำรวจ |
|
ประเทศเป้าหมาย: |
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส โปแลนด์ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา |
ผู้ตอบแบบสอบถาม: |
เด็กอายุ 6 ถึง 15 ปี จำนวน 1,000 คนจากแต่ละประเทศที่ทำการสำรวจ รวมผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 11,000 คน พ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กดังกล่าว จำนวน 1,000 คนจากแต่ละประเทศที่ทำการสำรวจ รวมผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 11,000 คน |
วิธีการสำรวจ: |
ออนไลน์ |
เนื้อหาแบบสำรวจ: |
แบบสำรวจความตระหนักสอบถามคำถามเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งเด็กและพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แบบสำรวจทักษะทางวิชาการสอบถามคำถามทั้งหมด 50 ข้อในรูปแบบการทดสอบพื้นฐานสำหรับเด็ก |
ระยะเวลาการสำรวจ: |
สิงหาคม ถึง กันยายน 2563 |
1. อัตราการตอบกลับโดยเฉลี่ยสำหรับผลการสำรวจทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานเกินร้อยละเจ็ดสิบในเอเชีย และพบว่าผลลัพธ์ของยุโรปและสหรัฐอเมริกาโดยทั่วไปต่ำกว่า
เราเห็นความแตกต่างในระดับภูมิภาคอย่างชัดเจนในการเรียนรู้ที่สม่ำเสมอและอัตราในการจดจำสำหรับเด็กอายุสิบห้าหรือต่ำกว่า
ภายในการสำรวจทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานที่จัดทำโดย SPRIX ซึ่งกำหนดเป้าหมายไปที่เด็กอายุสิบห้าหรือต่ำกว่าใน 11 ประเทศที่ต่างกัน อัตราการตอบกลับสำหรับประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาอยู่ในระดับต่ำ ในทางกลับกัน อัตราการตอบกลับสำหรับประเทศต่าง ๆ ภายในเอเชีย โดยเฉลี่ยอยู่ที่เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่านั้น เราเห็นความแตกต่างในระดับภูมิภาคในด้านความสม่ำเสมอในการเรียนรู้ทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานและอัตราในการจดจำ
ชื่อแผนภูมิ: อัตราการตอบกลับโดยเฉลี่ย (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) สำหรับแบบสำรวจทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานที่มุ่งเป้าไปที่เด็กอายุสิบห้าหรือน้อยกว่าในสิบเอ็ดประเทศ
2. เด็กจากประเทศที่มีอัตราของความสม่ำเสมอในการเรียนรู้และการจดจำที่สูงขึ้นจะมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับอนาคตของพวกเขา
เด็กที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตจะมีความสนใจในชั้นเรียนและการศึกษาด้วยตนเอง
การสำรวจเด็ก ๆ เกี่ยวกับอนาคตของพวกเขาพบว่าคะแนนสูงอย่างต่อเนื่องในวิชาชีพด้านการแพทย์ วิชาชีพด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม และวิชาชีพด้านการศึกษาในหลายประเทศ โดยไม่มีความแตกต่างที่สำคัญสำหรับอาชีพในอนาคตทั่วทั้ง 11 ประเทศ เนื่องจากนวัตกรรมทางด้านเทคนิคเพิ่มบทบาทในด้านไอทีและเทคโนโลยีดิจิทัลภายในบทบาทบริการของแต่ละอุตสาหกรรม เราเชื่อว่าเด็ก ๆ จะมีความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นในวิชาชีพด้านเทคนิค วิศวกรรม และการเขียนโปรแกรม
ชื่อแผนภูมิ: อาชีพที่เด็กสนใจ
อย่างไรก็ตาม เราเห็นความแตกต่างในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของเด็กเกี่ยวกับอาชีพในอนาคต ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น เด็ก ๆ ในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอาชีพในอนาคตมากกว่าเมื่อเทียบกับเด็กในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เมื่อพิจารณาอย่างใกล้ชิดจากผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กับการกระจายผลลัพธ์สำหรับประเทศที่ยังคงทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานไว้ เราเชื่อว่าผลลัพธ์เหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน
ชื่อแผนภูมิ: อัตรา (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ของเด็กที่ไม่มีอาชีพในอนาคตหรือยังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพในอนาคต
นอกจากนี้ เด็กในประเทศที่ผลลัพธ์ชี้ให้เห็นถึงอาชีพในอนาคตที่ชัดเจน ยังแสดงความรู้สึกเชิงบวกต่อชั้นเรียนในโรงเรียนด้วย นอกจากนี้ เส้นแนวโน้มความสนใจเรียนนอกโรงเรียนยังอยู่ในระดับสูง แบบสำรวจแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงระดับแรงจูงใจในการเรียนรู้ที่สูงมาก
ชื่อแผนภูมิ: อัตรา (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ของเด็กที่คิดว่างานชั้นเรียนน่าสนใจ
ชื่อแผนภูมิ: เวลาเรียนเฉลี่ย (คิดเป็นชั่วโมง) นอกชั้นเรียน
3. ประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมดตระหนักถึงความสำคัญของทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐาน
ที่กล่าวมานั้น ได้เห็นความแตกต่างบางประการในแนวทางการเรียนรู้ในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
การตระหนักรู้สำหรับพ่อแม่และผู้ปกครองเกี่ยวกับทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานของบุตรหลานนั้นสูงมาก เกินกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์สำหรับพ่อแม่และผู้ปกครองจาก 11 ประเทศที่ทำการสำรวจซึ่งเชื่อว่าทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานมีความสำคัญ การสำรวจยังระบุอย่างชัดเจนว่าพ่อแม่และผู้ปกครองประมาณร้อยละเก้าสิบต้องการพัฒนาระดับทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานของบุตรหลานและต้องการมีส่วนร่วมกับพวกเขาเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น เราเห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเห็นด้วยกับความสำคัญของทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐาน เนื่องจากเชื่อว่าความรู้ดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรืออย่างอื่นที่ขาดไม่ได้สำหรับการศึกษาของบุตรหลาน
ชื่อแผนภูมิ: ความตระหนัก (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ของความรู้พื้นฐานสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครองในสิบเอ็ดประเทศ
ชื่อแผนภูมิ: ทักษะ (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ที่เชื่อว่าจำเป็นนอกเหนือจากการเรียน
นอกจากนี้ พ่อแม่และผู้ปกครอง ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น ที่เข้าใจทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานมีอยู่ในระดับสูง ในประเทศส่วนใหญ่พ่อแม่และผู้ปกครองเข้าใจทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานของบุตรหลาน และเราสามารถเห็นได้ว่าความตระหนักในทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานของพวกเขาก็อยู่ในระดับสูงเช่นกัน
ชื่อแผนภูมิ: อัตรา (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ของเด็กและพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เข้าใจทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐาน
เมื่อเราสำรวจความตระหนักเฉพาะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการเรียนรู้ของบุตรหลานของพวกเขา พ่อแม่และผู้ปกครองใน 11 ประเทศมีส่วนร่วมอย่างมาก ด้วยผลลัพธ์โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละเก้าสิบสำหรับการมีส่วนร่วมซึ่งรวมถึงการกระตุ้นให้เด็กศึกษาและให้รางวัลเด็กในการศึกษา อย่างไรก็ตาม เราเห็นความแตกต่างในระดับภูมิภาคสำหรับเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในเรื่องการมีส่วนร่วม อย่างเช่น พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่สอนบุตรหลานของตนเอง ให้คะแนนการบ้านแก่เด็ก หรือการพัฒนาตารางเรียนสำหรับเด็ก พ่อแม่และผู้ปกครองจากประเทศที่มีอัตราการตอบแบบสำรวจทักษะทางวิชาการสูงกว่าจะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในรายละเอียดการเรียนของเด็กมากขึ้น รวมถึงการจัดตารางการเรียนรู้ที่เป็นอิสระของเด็ก และการให้คะแนนการบ้านของเด็ก แทนที่จะปล่อยไว้ให้แล้วแต่บุตรหลานของพวกเขา
ชื่อแผนภูมิ: การมีส่วนร่วม (เป็นเปอร์เซ็นต์) ในการเรียนรู้ของเด็กทั่วทั้งสิบเอ็ดประเทศ
4. ความพึงพอใจในชั้นเรียนเกินร้อยละแปดสิบ การระบาดใหญ่เปลี่ยนแปลงไปสู่การเรียนรู้ออนไลน์ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญ พ่อแม่และผู้ปกครองมากกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ต้องการให้แบบสำรวจความรู้มีการตรวจสอบถึงความยากลำบากเป็นประจำของการเรียนออนไลน์ในช่วงที่เกิดโรคระบาด อย่างเช่น โควิด-19
เราสำรวจว่าพ่อแม่และผู้ปกครองสนับสนุนโรงเรียนที่เป็นศูนย์กลางของการศึกษาทักษะทางวิชาการของเด็กอย่างไร ผู้ตอบแบบสอบถามจาก 11 ประเทศให้คะแนนโรงเรียนในระดับที่สูง ด้วยคำตอบรวมถึงความพึงพอใจต่อบทเรียนที่ทางโรงเรียนจัดให้ การเข้าเรียนของบุตรหลานของพวกเขา และทักษะทางวิชาการที่เพียงพอที่ได้รับการสอนในชั้นเรียนของโรงเรียน เนื่องจากประมาณร้อยละแปดสิบของผู้ตอบแบบสอบถามในทั้งหมด 11 ประเทศ ระบุว่าพวกเขาเชื่อมั่นในผลการทดสอบของโรงเรียน เราเชื่อว่าสิ่งนี้บ่งบอกถึงความพึงพอใจในระดับสูงสำหรับการศึกษาในโรงเรียน ในทางกลับกัน โรงเรียนหลายแห่งถูกบังคับให้พิจารณารูปแบบชั้นเรียนใหม่เพื่อต่อสู้กับการแพร่กระจายของการติดเชื้อโควิด-19 และมีการใช้กลยุทธ์หลายอย่างสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ รวมถึงชั้นเรียนออนไลน์ผ่านแอปการประชุมทางไกล เช่น Zoom การเสนอเนื้อหาดิจิทัล และการแชร์วิดีโอของชั้นเรียนโดยคุณครู
ชื่อแผนภูมิ: การให้คะแนน (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ของชั้นเรียนโดยพ่อแม่และผู้ปกครองในสิบเอ็ดประเทศ
ชื่อแผนภูมิ: การตอบสนองของโรงเรียน (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ในสิบเอ็ดประเทศต่อโควิด-19
เป็นที่ชัดเจนว่าผลกระทบของโควิด-19 ต่อการเรียนรู้ของเด็กมีความสำคัญ และพ่อแม่หรือผู้ปกครองจำนวนมากเชื่อว่าต้องใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้เฉพาะบุคคล การทบทวนระดับทักษะทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ และโอกาสในการเรียนรู้นอกโรงเรียนที่จำเป็น พ่อแม่หรือผู้ปกครองสี่ในห้าต้องการให้ใช้มาตรฐานแห่งชาติเพื่อประเมินทักษะทางวิชาการ และสามในสี่ต้องการให้ใช้มาตรฐานสากล ผลลัพธ์เหล่านี้บ่งชี้ว่าพ่อแม่และผู้ปกครองหลายรายตระหนักถึงสภาพการเรียนรู้ของบุตรหลาน
ชื่อแผนภูมิ: สิ่งที่จำเป็น (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ในช่วงการระบาดของโควิด-19 เพื่อการเรียนรู้ของเด็กในสิบเอ็ดประเทศ
ชื่อแผนภูมิ: ความตระหนัก (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ของการประเมินทักษะทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศในสิบเอ็ดประเทศ
คำพูดบางส่วนจาก Shuhei Umeda ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย SPRIX
เป็นเวลากว่ายี่สิบปีที่ SPRIX ได้ให้บริการด้านการศึกษาแก่เด็กชาวญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เรียนไม่เก่งและที่จะได้รับการจัดอันดับในรระดับกลางหรือต่ำกว่าของทักษะทางวิชาการ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในการเรียนรู้ในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศในเอเชีย ระดับแรงจูงใจในการเรียนรู้ทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้แนวทางต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ เราเชื่อว่าผลลัพธ์จะเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ดีเยี่ยมสำหรับประเทศที่ผลการทดสอบทักษะทางวิชาการไม่สูงนัก
การสำรวจวิจัยประเภทนี้ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานอย่างที่ไม่เคยมีการดำเนินการในระดับโลกมาก่อน อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยนี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ นอกจากนี้การทดสอบของ Fundamental Academic Skills (TOFAS) ที่เปิดตัวซึ่งเติบโตจากผลการวิจัยที่ได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 30,000 คนในสิบประเทศทั่วโลก โดยมีแผนเรียกร้องเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในภายภาคหน้า หากบุคคลในต่างประเทศสนใจงานวิจัยประเภทนี้ และต้องการทดสอบและศึกษาวิธีพัฒนาทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานสำหรับเด็ก เรายินดีที่จะพัฒนาการวิจัยต่อไป
ภาพรวมของสถาบันวิจัย SPRIX
สถาบันวิจัย SPRIX มุ่งเน้นที่ทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐาน และจัดตั้งขึ้นเพื่อประเมินทักษะทางวิชาการของเด็กอย่างถูกต้อง และเพื่อให้มั่นใจว่ามีความสม่ำเสมอและการจดจำของทักษะเหล่านั้น โดยมุ่งเน้นที่ทักษะทางวิชาการที่เป็นพื้นฐานขั้นต้นซึ่งทำหน้าที่เป็นบรรทัดเริ่มต้นของสถาบันวิจัยสำหรับการพัฒนาทักษะเหล่านั้น เมื่อทักษะเหล่านั้นเหมาะสมแล้ว เด็ก ๆ จะมีอนาคตที่หลากหลายให้เลือก โดยมอบโอกาสใหม่ ๆ ให้กับชีวิตของพวกเขา ภารกิจของเราในฐานะสถาบันวิจัยคือการต่อยอดการวิจัยและพัฒนาที่จำเป็นสำหรับการจดจำที่สม่ำเสมอของทักษะทางวิชาการขั้นพื้นฐานสำหรับเด็ก ไม่เพียงแต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ไปยังทั่วโลกด้วย
ชื่อสถาบัน: |
สถาบันวิจัย SPRIX |
ผู้อำนวยการสถาบัน: |
Shuhei Umeda |
เว็บไซต์: |
|
บัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการ: |
Twitter https://twitter.com/SprixBasri |
Facebook https://www.facebook.com/SprixBasri |
ภาพรวมของ SPRIX |
|
ชื่อบริษัท: |
SPRIX |
สำนักงานใหญ่: |
12F, Metropolitan Plaza Building, 1-11-1 Nishi-Ikebukuro, Toshima Ward, Tokyo |
ตัวแทน: |
Hiroyuki Tsuneishi, Representative Director and President |
เว็บไซต์: |
|
สอบถามโดยตรงไปที่: |
เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย
รับชมเวอร์ชันต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20210831005018/en/
สมาชิกของสื่อมวลชนควรส่งคำถามไปที่:
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ SPRIX (สำหรับการติดต่อเบื้องต้น)
หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์: Ririna Matsui, Nao Aoyama
โทร: +81-3-5572-6062
โทรสาร: +81-3-5572-6065
อีเมล์: sprix@vectorinc.co.jp