ทีมวิจัย NTHU พัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

Logo

ซินจู๋ ไต้หวัน–(BUSINESS WIRE)–13 มี.ค. 2564

ฤดูหนาวเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูไข้หวัดใหญ่ประจำปี และในทุก ๆ ปี องค์การอนามัยโลก (WHO) พยายามคาดการณ์ว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใดจะแพร่ระบาดในวงกว้างมากที่สุด เพื่อที่จะสามารถเตรียมการฉีดวัคซีนที่จำเป็น และด้วยการคำนึงถึงสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Wu Suh-Chin จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้พัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ โดยการฉีดวัคซีนสามารถทำได้ในรูปแบบของการฉีดพ่นจมูกแทนการฉีดแบบเข็ม

ข่าวประชาสัมพันธ์นี้เป็นแบบมัลติมีเดีย ดูฉบับเต็มได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20210312005008/en/

A research team led by Professor Wu Suh-Chin of the Department of Medical Science has developed a mucosal vaccine providing protection against all strains of influenza, and is currently planning to develop a mucosal COVID-19 vaccine. (Photo: National Tsing Hua University)

ทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Wu Suh-Chin จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาวัคซีนภูมิคุ้มกันแบบฉีดพ่นจมูกเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์และกำลังวางแผนที่จะพัฒนาวัคซีน COVID-19 แบบนี้ด้วย (ภาพ: National Tsing Hua University)

การวิจัยเชิงนวัตกรรมของทีมได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์และได้รับรางวัล Future Tech Award ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี 2562 และ 2563

วัคซีนที่ให้ประสิทธิผลแบบสากล

เนื่องจากความชุกของไข้หวัดใหญ่และการที่สายพันธุ์มีความแตกต่างกันไปในแต่ละปี การตัดสินใจเลือกวัคซีนที่จะเตรียมสำหรับฤดูไข้หวัดใหญ่ครั้งต่อไปจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย การคาดการณ์ที่ผิดจึงอาจทำให้ได้วัคซีนมีประสิทธิภาพต่ำ ทั้งนี้ Wu กล่าวว่าสาเหตุส่วนใหญ่เป็นเพราะ ฮีแมกกลูตินิน ของไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกันของคนเราจดจำได้ยาก

แอนติเจนฮีแมกกลูตินิน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนหัวทรงกลมและบริเวณลำตัว โดยเป็นที่ส่วนหัวทรงกลมนี่เองซึ่งทำให้ไวรัสแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเฉพาะ ทีมของ Wu ได้ใช้พันธุวิศวกรรมเพื่อทำให้หัวทรงกลมเติบโตเป็นชั้นของคาร์โบไฮเดรต สิ่งเหล่านี้จะช่วยปิดคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของไวรัส ดังนั้นจึงไปทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกันสามารถสร้างแอนติบอดีต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดใดก็ได้ที่พวกมันเข้าไปเจอ

ทีมของ Wu ยังทำการย่อยสลายบริเวณลำตัวของแอนติเจน ฮีแมกกลูตินิน ซึ่งทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกันจดจำและกำจัดไวรัสได้ง่ายขึ้น Wu กล่าวว่าการย่อยสลายของฮีแมกกลูตินิน จะช่วยเพิ่มการกระตุ้นของแอนติบอดีจำเพาะของส่วนลำตัว ทำให้สามารถพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสากลให้กับแอนติเจนประเภทที่แตกต่างกันได้

ต่อสู้กับไวรัสด้วยสารพิษ

เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านทางเดินหายใจ ทีมของ Wu จึงคิดค้นวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดพ่นจมูกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการฉีด เนื่องจากการหายใจและการรับประทานอาหารจะนำแอนติเจนแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เยื่อเมือกในระบบทางเดินหายใจและทางปาก จึงมีความทนทานต่อเยื่อเมือกต่อเชื้อโรค ส่งผลให้ผลิตวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเยื่อเมือกได้ยาก นี่คือสิ่งที่ทำให้การพัฒนาวัคซีนแบบพ่นมีความท้าทายมากกว่าการฉีดวัคซีน

เพื่อเอาชนะความทนทานต่อภูมิคุ้มกันของระบบเยื่อเมือก แนวทางหนึ่งคือ“ ต่อสู้กับไวรัสด้วยสารพิษ” และทีมงานจึงตัดสินใจใช้สารพิษจากแบคทีเรียที่เรียกว่า“heat-labile enterotoxin A subunit” กับแอนติเจน ซึ่งจะทำให้กลายเป็นวัคซีนที่สร้างฤทธิ์เสริมได้เอง หรือ self-adjuvanting vaccine โดยวัคซีนที่สร้างฤทธิ์เสริมได้เองที่สร้างขึ้นด้วยวิธีนี้สามารถกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของเยื่อเมือกและระบบภูมิคุ้มกันได้ดี

ทีมงานได้ใช้แพลตฟอร์มวัคซีนที่สร้างฤทธิ์เสริมได้เอง ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วในไต้หวันและสหรัฐอเมริกาแล้ว เพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนสำหรับโรคไข้หวัดนก และการทดลองเบื้องต้นได้ยืนยันว่ามีการระงับการสร้างแอนติบอดีในซีรั่มในไก่ที่สูดดมวัคซีนพ่นนั้น เมื่อเห็นผลที่น่าตื่นเต้นดังนี้ ทีมงานจึงกำลังวางแผนที่จะพัฒนาวัคซีนแบบพ่นเพื่อป้องกัน COVID-19

ดูเวอร์ชันต้นฉบับบน businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20210312005008/en/

ติดต่อ:

Holly Hsueh

NTHU

(886)3-5162006

hoyu@mx.nthu.edu.tw

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย