ซินจู๋, ไต้หวัน–(BUSINESS WIRE)–16 กันยายน 2565
กุญแจสู่ความสำเร็จก็คือการไม่ยอมแพ้! การวิจัยข้ามสายพันธุ์โดยทีมวิจัยสหวิทยาการจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติชิงหวา (NTHU) ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ Yu-Ju Chou จากภาควิชาการศึกษาปฐมวัย และ Tsung-Han Kuo จากสถาบันประสาทวิทยาศาสตร์เชิงระบบ พบว่าลำดับชั้นทางสังคมของเด็กและหนูถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นคล้าย ๆ กัน ทั้งสองค้นพบพร้อมกับความประหลาดใจที่ว่าการจัดลำดับชั้นเหล่านี้ไม่ได้พิจารณาจากความแข็งแรงเท่าไรนัก แต่จะดูว่าใครที่จะยอมจำนนมากกว่า
เอกสารประชาสัมพันธ์นี้มีเนื้อหามัลติมีเดีย ดูอย่างเต็มรูปแบบที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20220913005090/en/
Chou Yu-Ju (ซ้าย) และ Kuo Tsung-Han พบว่าการครอบงำทางสังคมไม่ได้กำหนดจากการที่ใครแข็งแรงกว่า แต่ดูจากว่าใครจะยอมจำนนมากกว่ากัน (ภาพ: มหาวิทยาลัยแห่งชาติชินหวา)
รายงานดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ในวารสาร iScience ซึ่งเป็นวารสารฉบับย่อด้านเซลล์ โดยทั้งคู่ได้แนะนำว่าผู้ปกครองและครูควรให้ความใส่ใจในเรื่องการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในเด็กอย่างใกล้ชิด และให้คำแนะนำและการสนับสนุนเป็นพิเศษกับเด็กที่ไม่ค่อยมีความกล้าหรือเด็กที่มักโอนอ่อนผ่อนตาม
การทดลองที่นำมาใช้เพื่อระบุลำดับชั้นของหนูเรียกว่า “tube test” ซึ่งหนูจะถูกคู่ต่อสู้บังคับให้ล่าถอยเข้าไปในท่อแคบ ๆ ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจเมื่อผลลัพธ์นั้นไม่ได้ถูกกำหนดโดยพฤติกรรมของหนูตัวที่มีพลังมากกว่า แต่เป็นแนวโน้มที่จะยอมแพ้ในบรรดาหนูที่ยอมจำนน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นลักษณะของ “การตัดสินใจของผู้แพ้”
ทีมวิจัยยังได้ทำการทดลองด้านพฤติกรรมในกลุ่มเด็กก่อนเข้าเรียนและได้ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกัน โดย Chou กล่าวว่าเด็ก ๆ ที่ชนะการแข่งขันไม่ต้องใช้ความพยายามมากเลย ส่วนกลุ่มผู้แพ้ก็ยอมอยู่แล้วตั้งแต่แรกหรือไม่ก็โดนคู่แข่งกล่อมให้ยอมแบบง่าย ๆ ขณะที่เด็กบางคนสามารถคุมเกมได้โดยเป็นผู้ออกคำสั่งให้ผู้อื่นทำตาม ส่วนเด็ก ๆ ที่มีความโอนอ่อนผ่อนตามก็มีความยืนหยัดน้อยกว่าและมีแนวโน้มที่จะเป็นฝ่ายถอย
Kuo กล่าวว่าผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าบางครั้งกุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จก็เป็นแค่ความมุ่งมั่นไม่ลดละและการยึดมั่นในเป้าหมายแรกเริ่ม ขณะที่ Chou ชี้ให้เห็นว่าผู้ปกครองและครูควรให้ความใส่ใจต่อเด็กที่มีความโอนอ่อนผ่อนตามและขาดความกล้าอย่างใกล้ชิด การเพิ่มความมั่นใจในตัวเองให้พวกเขาด้วยการมอบประสบการณ์ด้านความสำเร็จในด้านบวกจะเป็นประโยชน์ต่อเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กกลุ่มนี้อย่างมาก
การศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักวิจัยและพัฒนา การควบรวมระหว่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติชิงหวาและมหาวิทยาลัยการศึกษาแห่งชาติซินจู๋เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดความร่วมมือในวงกว้าง รวมถึงการวิจัยที่เป็นตัวอย่างน่ายกย่องนี้
Chou และ Kuo เห็นพ้องต้องกันว่าความร่วมมือแบบข้ามสาขาวิชาสร้างมุมมองใหม่ ๆ ให้กับงานวิจัยของตน โดย Chou กล่าวว่าในการศึกษาด้านมนุษย์นั้นมีข้อจำกัดทางจริยธรรมอยู่หลายอย่าง ในทางตรงกันข้าม ข้อจำกัดที่น้อยกว่าในการทดลองในสัตว์ช่วยให้นักวิจัยสามารถทำการทดลองที่อาจเป็นการล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวในหนูได้ Kuo กล่าวว่า เนื่องจากหนูไม่สามารถพูดได้ เราจึงทำได้เพียงสังเกตพฤติกรรมของตัวอย่างเพื่อตีความลำดับชั้นทางสังคมของพวกมัน ในทางกลับกัน เด็ก ๆ นั้นมีช่วงพฤติกรรมที่มีความซับซ้อนกว่ามากและมีความน่าสนใจ
ในโปรเจกต์หลังจากนั้น Chou และ Kuo ได้ร่วมกับ Dr. Shi-Bing Yang จาก Academia Sinica และพบความเชื่อมโยงในเชิงบวกระหว่างลำดับชั้นและความจำ การศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายาที่ช่วยเพิ่มความจำไม่เพียงสามารถเพิ่มความจำในหนูได้แต่ยังรวมถึงการครอบงำทางสังคมด้วย นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่าเด็กที่มีความจำดีกว่าจะรับเอายุทธศาสตร์ทางสังคมมาใช้และรู้จำการแสดงออกทางใบหน้าที่แสดงถึงอำนาจได้ดี ซึ่งสิ่งนี้นำไปสู่ความเป็นผู้นำ การวิจัยนี้เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Communications Biology เมื่อไม่นานมานี้
ดูเนื้อหาต้นฉบับที่ businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20220913005090/en/
ติดต่อ:
Holly Hsueh
NTHU
(886)3-5162006
hoyu@mx.nthu.edu.tw
เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย