งานเลี้ยงอาหารค่ำคณะทูตสมาชิกและคณะกรรมการอำนวยการ APO เพื่อพบปะหารือการติดตามและประเมินผลวิสัยทัศน์ APO ปี 2568: กิจกรรมหยุดคิดและพิจารณาทบทวน

Logo

กรุงโตเกียว—(BUSINESS WIRE)–15 มีนาคม 2024

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2567 เลขาธิการใหญ่ขององค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (APO) Dr. Indra Pradana Singawinata ได้จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำสำหรับคณะทูตซึ่งเป็นสมาชิก APO ในกรุงโตเกียว งานเลี้ยงในครั้งนี้มีทูตและตัวแทนจากสมาชิก APO ทั้ง 14 ประเทศเข้าร่วมเพื่อประชุมหารือกับคณะกรรมการอำนวยการเรื่องวิสัยทัศน์ APO ปี 2568: กิจกรรมหยุดคิดและพิจารณาทบทวน (APO Vision 2025: Pause-and-reflect Activity) ซึ่งผู้แทนจากสมาชิก APO จำนวน 7 ประเทศได้มารวมตัวกันในกรุงโตเกียวเพื่อทบทวนความคืบหน้าในวิสัยทัศน์ APO ปี 2568 นี้และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงวิสัยทัศน์ในอนาคตภายหลังปี 2568

Group photo with ambassadors and representatives from APO members, delegates from the APO Vision 2025: Pause-and-reflect Activity Steering Committee and Technical Working Group, APO Secretary-General, and Secretariat staffs. (Photo: Business Wire)

ภาพถ่ายทูตและตัวแทนจากประเทศสมาชิก APO, ผู้แทนจากคณะกรรมการอำนวยการและกลุ่มทำงานฝ่ายเทคนิค APO Vision 2025: Pause-and-reflect Activity, เลขาธิการใหญ่ APO และเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการ (ภาพจาก Business Wire)

เลขาธิการใหญ่ Dr. Indra ได้เน้นย้ำในคำกล่าวเปิดงานถึงความสำคัญของงานเลี้ยงอาหารค่ำในครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อทบทวนความมุ่งมั่นของ APO ในการแผ่ขยายความร่วมมือและเชื้อเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มาเข้าร่วมกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อผลผลิต ประธาน APO อย่าง Sheng-Hsiung Hsu จาก ROC ซึ่งได้รับเลือกจากการประชุมคณะประศาสน์การ (Session of the Governing Body) สมัยที่ 65 ยังได้ร่วมแสดงความคิดเห็นโดยเน้นย้ำถึงประสิทธิผลอันโดดเด่นขององค์กรในการนำพาผู้คนมารวมกันผ่านผลผลิตด้วย

Yoshiaki Makino รัฐมนตรีช่วยประจำกระทรวงต่างประเทศ (MOFA) แห่งประเทศญี่ปุ่นจากสำนักเลขาธิการ APO ได้กล่าวเปิดงานในนามของผู้อำนวยการ APO ประเทศญี่ปุ่น Hideo Ishizuki ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่/ผู้ช่วยรัฐมนตรี สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ MOFA โดยได้ชมเชยการสร้างเครือข่ายและตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างสมาชิก APO ต่าง ๆ ในขณะที่หยิบยกโครงการริเริ่มที่ดำเนินอยู่อย่างกิจกรรมการหยุดคิดและพิจารณาทบทวนและการประเมินภายนอก

งานเลี้ยงดังกล่าวปิดท้ายด้วยคำกล่าวจากกรรมการอิสระของ APO ประเทศอินเดีย S. Gopalakrishnan จาก IAS ซึ่งได้แสดงความขอบคุณแก่เหล่าทูตที่มาเข้าร่วม รวมถึงกล่าวขอบคุณเลขาธิการใหญ่ Dr. Indra ในนามของผู้เข้าร่วมทุกคน S. Gopalakrishnan ยังได้เน้นย้ำถึงประโยชน์ที่หลายคนมองข้ามจากแพลตฟอร์ม APO และสนับสนุนให้ทุกคนนำเครือข่ายระหว่างประเทศของ APO อย่างองค์การเพิ่มผลผลิตระดับประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อสนับสนุนโครงการริเริ่มของรัฐบาล รวมถึงแนวคิดด้านความร่วมมือและเป้าหมายร่วมกันของงานเลี้ยงในครั้งนี้ด้วย

เกี่ยวกับ APO

องค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (APO) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในระดับภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปรับปรุงผลผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกผ่านความร่วมมือ โดยเป็นองค์กรที่ไม่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ไม่แสวงผลกำไร และไม่แบ่งแยก องค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2504 โดยมีสมาชิกร่วมก่อตั้งจำนวน 8 ประเทศ ทั้งนี้ในปัจจุบัน APO มีสมาชิกรวม 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ บังกลาเทศ, กัมพูชา, กลุ่ม ROC, ฟิจิ, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, ญี่ปุ่น, กลุ่ม ROK, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, มาเลเซีย, มองโกเลีย, เนปาล, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ศรีลังกา, ไทย, ตุรกี และเวียดนาม

APO กำลังกำหนดทิศทางอนาคตของภูมิภาคโดยบ่มเพาะการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศสมาชิกผ่านบริการให้คำแนะนำทางนโยบายระดับประเทศ รวมถึงทำหน้าที่เป็นแหล่งความเชี่ยวชาญ โครงการริเริ่มในการสร้างประสิทธิผลระดับสถาบัน และการแบ่งปันความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิผล

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่https://www.businesswire.com/news/home/53910598/en

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ข้อมูลติดต่อ

ข้อมูลติดต่อโดยละเอียดมีดังนี้
Digital Information Unit, APO
pr@apo-tokyo.org
โทร: +81-3-3830-0411
เว็บไซต์: https://www.apo-tokyo.org

แหล่งข้อมูล: Asian Productivity Organization (องค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย)