ดาวน์โหลด “Global Value Chains in ASEAN” เกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซียได้ที่เว็บไซต์ AJC
โตเกียว –(บิสิเนส ไวร์)–04 ส.ค. 2564
ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJC) ออกเอกสารฉบับที่ 4 ของชุด “Global Value Chains in ASEAN” โดยเน้นที่อินโดนีเซียในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 จากรายงานดังกล่าว อินโดนีเซียได้เพิ่มส่วนแบ่งของมูลค่าเพิ่มภายในประเทศในการส่งออก (DVA) ที่ร้อยละ 88 ในปี 2562 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนที่สูงของ DVA นี้กระจุกตัวอยู่ในกิจกรรมการผลิตที่ระดับล่างซึ่งมีการนำเข้าและเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระดับที่ต่ำ
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มีมัลติมีเดีย อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่: https://www.businesswire.com/news/home/20210803006201/en/
ดาวน์โหลด “Global Value Chains in ASEAN” เกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซียได้ที่เว็บไซต์ AJC (กราฟิก: Business Wire)
อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่สิบในโลก ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามภาคการผลิตคิดเป็นเพียงหนึ่งในห้าของมูลค่าเพิ่มทั้งหมดที่สร้างขึ้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตสร้างมูลค่าเพียงเล็กน้อยทั้งๆ ที่มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของภาคหลักในแง่ของผลผลิต เมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้ปานกลางตอนบนอื่นๆ เช่น มาเลเซียและไทย อินโดนีเซียยังคงระดับรายได้ที่ต่ำกว่าและมีมูลค่าเพิ่มการผลิตที่เติบโตช้าที่สุด การขยายห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก (GVC) เป็นโอกาสที่ดีในการปรับปรุงความสามารถทางเทคโนโลยีของบริษัทผู้ผลิตในประเทศ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการหนีกับดักรายได้ปานกลาง
การมี GVC ที่สูงขึ้นอาจกระตุ้นการเติบโตผ่านปริมาณการค้าที่สูงขึ้นและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่สูงขึ้น บทความนี้แนะนำให้อินโดนีเซียพิจารณานำรูปแบบการเติบโตนี้มาใช้เป็นกรอบนโยบาย ตัวเลข FDI แสดงให้เห็นว่าการผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 40 ในช่วงปี 2557-2562 และส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในการผลิตเทคโนโลยีระดับกลาง เช่น การผลิตอาหาร โลหะ และเครื่องจักร อินโดนีเซียต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและตลาดในท้องถิ่นและส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ นโยบายที่ส่งเสริมการยกระดับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของเศรษฐกิจท้องถิ่นและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น ความสามารถด้านวิศวกรรม การออกแบบ และการวิจัยและพัฒนาขั้นสูง สิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นความรู้และนวัตกรรมมากขึ้น
การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้สูงสุดไม่ได้นำไปสู่การบูรณาการกับ GVC โดยอัตโนมัติ ผู้ดำเนินการในท้องถิ่นอาจไม่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายการผลิตทั่วโลก เนื่องจากข้อกำหนดต่างๆ เช่น การปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ทรัพยากรด้านการจัดการและการเงินที่มากขึ้น และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งเหล่านี้อาจทำให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ ในระดับชาตินั้นกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นกุญแจสำคัญ นี่คือบทบาทที่สำคัญของระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (NIS) ผ่านนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI) โดยจะทำให้ขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
NIS ที่มีการวางแผนมาอย่างดีอาจเป็นสะพานที่สามารถเปลี่ยนเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เป็นเทคโนโลยีพื้นเมืองในภาคการผลิตได้ รัฐบาลจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญในการยกระดับบริษัทผู้ผลิตพื้นเมืองภายใน GVC โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เทคโนโลยีระดับกลาง-ต่ำ และเทคโนโลยีระดับกลาง-สูง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตพื้นเมืองส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาคส่วนเทคโนโลยีต่ำ รัฐบาลอินโดนีเซียจำเป็นต้องจัดตั้ง NIS ที่มีการวางแผนมาเป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่การติดตามอุตสาหกรรมและการประสานงานกับกระทรวงสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนา และการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการยกระดับบริษัทผู้ผลิตพื้นเมืองภายใน GVC ด้วยเหตุนี้ ตัวแทนนโยบายของ STI จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นที่การสร้างเครือข่ายเพื่อเปลี่ยนเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้กลายเป็นความสามารถด้านเทคโนโลยีของชนพื้นเมืองแทนที่จะสร้างสิ่ง “เฉพาะที่”
ดาวน์โหลด “Global Value Chains in ASEAN” เกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซียได้ที่เว็บไซต์ AJC และด้านล่าง
https://www.asean.or.jp/en/centre-wide-info/gvc_database_paper4/
ต้นฉบับ businesswire.com: https://www.businesswire.com/news/home/20210803006201/en/
ติดต่อ:
ASEAN- Japan Center (AJC) PR Unit
Tomoko Miyauchi (MS)
URL: https://www.asean.or.jp/en/
TEL: +81-(0)3-5402-8118
E-mail: toiawase_ga@asean.or.jp
เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย